SWOT vs SOAR ต่างกันยังไงนะ ?

SWOT vs SOAR ต่างกันยังไงนะ ?

สรุปบทความ

ทำอย่างไรดีนะ อยากขายของแต่ขายไม่ออกสักที ต้องวิเคราะห์ SWOT และ SOAR ให้ดีเสียก่อน เพราะมันจะช่วยให้คุณรู้จักธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น !

ถ้าคุณเป็นคนที่อยากจะเริ่มทำธุรกิจสักอย่าง แต่ก็กลัวจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป ก็ต้องมีการศึกษาความรู้ทางการตลาดสักหน่อย ซึ่งหลักการเหล่านี้จะช่วยให้คุณทราบถึงข้อมูลธุรกิจของคุณจากการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่าง ๆ และถ้าหากจะกล่าวถึงความรู้ทางการตลาดที่เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจก็คงจะหนีไม่พ้น การวิเคราะห์ ‘SWOT’ Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดขององค์กร ที่นำไปใช้เพื่อการพัฒนาการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จ

ซึ่งรู้ไหมว่าในปัจจุบันมีเทคนิคการวางแผนธุรกิจที่คล้ายกับหลักการที่กล่าวไปข้างต้นอยู่อีกหนึ่งหลักการคือ ‘SOAR’ Analysis ซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และเราก็เชื่อว่ายังมีหลายคนที่อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ? แล้วทั้งสองเทคนิคต่างกันอย่างไร ? วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกคนได้รู้ไปพร้อม ๆ กัน

SWOT Analysis คืออะไร ?

ขอบคุณรูปจาก: adamsmediagroup.com

SWOT Analysis ถือเป็นหลักการวิเคราะห์ทางการตลาดขององค์กรแบบพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาดโดยใช้ข้อมูลในสถานการณ์ ณ ขณะนั้น เพื่อหาแนวทางการทำการตลาดและแก้ไขปัญหา หลักการนี้ถูกใช้งานในการวางแผนครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1960 และได้รับความนิยมเรื่อยมากจนถึงปัจจุบัน

โดยเป็นตัวย่อขององค์ประกอบ 4 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

Strengths หรือ จุดแข็ง ที่เป็นข้อได้เปรียบทางการตลาดในด้านต่าง ๆ (ผู้วิเคราะห์อาจใช้หลักการในการเทียบกับคู่แข่งก็ได้) ซึ่งแบรนด์อาจวิเคราะห์ได้จากหลักการ 4P หรือ ส่วนผสมทางการตลาด ทั้งราคา สินค้า สถานที่จัดจำหน่าย โปรโมชัน ต้นทุน ชื่อเสียง หรือความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์

Weaknesses หรือ จุดอ่อน ที่ภภายในองค์กรที่ด้อยกว่าคู่แข่งทางการตลาด หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นด้านที่อยู่ในทางตรงกันข้ามกับ Strengths ซึ่งปัจจัยภายในองค์กรเหล่านี้ควรที่จะได้รับการแก้ไข เช่น ราคาที่แพงกว่า ต้นทุนที่สูงกว่า หรือความหลากหลายของสินค้าที่น้อยกว่า เป็นต้น

Opportunities หรือ โอกาส เป็นปัจจัยภายนอกขององค์กรหรือสภาพแวดล้อมในสังคม ที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้ธุรกิจเกิดการเติบโตและได้เปรียบมากกว่าองค์กรคู่แข่ง เช่น สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ขององค์กรคู่แข่ง เป็นต้น โดยเราสามารถรวบรวมข้อมูลมาจากข่าวสารหรือสื่อต่าง ๆ มาวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนนี้ได้

Threats หรือ อุปสรรคภายนอกองค์กรที่จะทำให้ธุรกิจเกิดผลกระทบทางลบต่าง ๆ เช่น การเปิดตัวขององค์กรคู่แข่งที่จะแย่งกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด เทคโนโลยีที่จะมาแทนสินค้าขององค์กร หรือแม้แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในปัจจุบัน ก็ถือเป็น Threats ได้เช่นกัน

SOAR Analysis คืออะไร ?

‘SOAR’ Analysis มีความคล้ายคลึงกับหลัก SWOT Analysis ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งหลักการ SOAR เป็นหลักการวิเคราะห์องค์กรที่ถูกพัฒนาขึ้นผ่านการตั้งคำถามใน 11 แง่มุม คือ การสร้างนวัตกรรม การสร้างผลิตภาพ การเรียนรู้ในองค์กร การสร้างแรงจูงใจภายใน การสร้างแรงจูงใจภายนอก บรรยากาศ การทำงานเป็นทีม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลดต้นทุน การเพิ่มรายได้ การบริหารความเสี่ยง และภาวะผู้นำ โดยนอกจากการวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารแล้ว หลักการ SOAR ยังช่วยในการวางแผนการตลาดและพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย

ส่วนคำว่า SOAR ก็เป็นการนำตัวย่อขององค์ประกอบทั้ง 4 ด้านมาเรียงต่อกันเป็น 1 คำเช่นเดียวกันกับหลัก SWOR ซึ่งหลัก SOAR สามารถแบ่งได้ ดังนี้

Strength หรือ จุดแข็ง ที่มองจากภายในและภายนอกที่สามารถควบคุมได้ ในด้านต่าง ๆ ที่อยู่เหนือกว่าองค์กรคู่แข่ง ทั้งจากตัวองค์กรหรือพนักงานภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรม ตำแหน่งท่ตั้ง ทรัพยากร ทัศนคติ ต้นทุน หรือสิ่งที่พนักงานในองค์กรภูมิใจ เป็นต้น

Opportunities หรือ โอกาส ภายนอกที่อาจจะเกิดขึ้นได้เอง โดยที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้และส่งผลดีต่อองค์กร ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกินขึ้นบ่อยนักก็ได้ เช่น คู่แข่งทางธุรกิจ กระแสสังคมที่เกิดขึ้น นโยบายขององค์กร หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

Aspirations หรือ เป้าหมาย ทางธุรกิจที่องค์กรอยากจะไปถึง หรือเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตทั้งด้านวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ หรือสิ่งที่ต้องการแก้ไข ซึ่งเป้าหมายที่ตั้งก็ควรที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างถูกต้อง และง่ายดายมากยิ่งขึ้น

Results หรือ ผลลัพธ์ ที่องค์กรต้องการให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ และสามารถประเมินได้ว่าบรรลุเป้าหมาย (Aspirations) นั้น ๆ เช่น KPI ของพนักงาน รายได้ต่อปี หรือมูลค่าส่วนแบ่งของการตลาด เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นตัวชี้วัดผลงานนั่นเอง

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง SWOT และ SOAR

SWOTSOAR
Strength = จุดแข็ง หรือ ข้อได้เปรียบทางการตลาดStrength = จุดแข็ง หรือ ข้อได้เปรียบที่สามารถควบคุมได้
Weaknesses = จุดอ่อน หรือจุดที่ด้อยกว่าคู่แข่งOpportunities = ภายนอกที่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่ควบคุมไม่ได้และส่งผลดีต่อองค์กร
Opportunities = โอกาส หรือ ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ธุรกิจเติบโตAspirations = เป้าทางธุรกิจที่องค์กรต้องการจะไปถึงหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น
Threats = อุปสรรคภายนอกที่จะทำให้เกิดผลกระทบทางลบResults = ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

สรุปท้ายบทความ

สรุปได้ว่า เทคนิค SOAR เป็นการนำหลักการวิเคราะห์ทางการตลาดแบบ SWOT มาพัฒนาเพื่อตอบสนองกับมุมมองจากภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น และเกิดการประเมินผลที่ถูกต้องแม่นยำมากกว่า

และนอกจากหลักการวิเคราะห์ทางการตลาดทั้งสองเทคนิคแล้ว ยังมีหลักการวิเคราะห์การตลาดโดยใช้กลยุทธ์อื่น ๆ อีกมากมายให้เรียนรู้กันเพื่อรายได้ของธุรกิจที่มากขึ้น

อ่านแล้วถ้าให้สนใจลงขายของออนไลน์ Kaidee ก็เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะที่นี่เป็นแหล่งรวมการซื้อขายออนไลน์ ที่มีให้เลือกหลากหลายประเภทเลยล่ะ

สอบถามข้อมูลอื่นๆ หรือสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

กรุณาสแกนคิวอาร์โค้ด หรือเพิ่มเพื่อนด้วยไอดีไลน์ @kaideeofficial