English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
พระวัดระฆังหลังฆ้อน​ หลังเจียรเหลี่ยมเพชร รูปที่ 1
พระวัดระฆังหลังฆ้อน​ หลังเจียรเหลี่ยมเพชร รูปที่ 2
พระวัดระฆังหลังฆ้อน​ หลังเจียรเหลี่ยมเพชร รูปที่ 3
พระวัดระฆังหลังฆ้อน​ หลังเจียรเหลี่ยมเพชร รูปที่ 4
พระวัดระฆังหลังฆ้อน​ หลังเจียรเหลี่ยมเพชร รูปที่ 5
1 / 5

พระวัดระฆังหลังฆ้อน​ หลังเจียรเหลี่ยมเพชร

฿ 5,550
ลงขายโดยJomthong

รายละเอียดสินค้า

เหรียญหล่อพระสมเด็จ วัดระฆังหลังฆ้อน เนื้อสำริดเงิน เททองหล่อแบบโบราณ เป็นการหล่อครั้งที่ ๑ ผิวเนื้อโลหะสีคล้ำหม่นแห้งจัด เพราะอายุร้อยกว่าปี ด้านหลังและขอบข้างทั้งสี่ด้านเจียรไนเป็นเหลี่ยมเหมือนเจียรไ นเพชร สภาพพระสวยสมบูรณ์เก็บเก่า ไม่ผ่านการบูชามาก่อน  พระลักษณะแบบนี้ปัจจุบันหายากมาก ไม่มีเข้ามาหมุนเวียนในตลาดพระเลย องค์นี้เก่าสวยเดิม​ๆ​ ครับ
พระสมเด็จ วัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๒ ซ.ม. สูงประมาณ ๑.๗ ซ.ม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชกุล อิศรางกูรฯ) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ ของวัดระฆังก่อนหน้าพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี ๒๔๕๓-๒๔๕๗ ขณะดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณะศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อปี ๒๔๖๔) และสร้างพระสมเด็จหลังฆ้อน อีกครั้งช่วงปี ๒๔๕๘-๒๔๗๐
โดยท่านได้นำเอาแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ได้ลงอักขระไว้นำมาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราช ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ทำเป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ พระที่สร้างในคราวแรก จะมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ และเนื้อสำริด และเนื้อเมฆสิทธิ์ก็เคยพอเห็นแต่หายากมาก ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่ที่จริง ๆ ก็ไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนักเพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันอย่างชัดเจนได้ยาก

สำหรับพระเกจิที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง ๖๐ รูป ได้แก่หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอกหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่หลวงพ่อพ่วง วัดกกกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์หลวงพ่อชู วัดนาคปรกหลวงพ่อสาย วัดอินทราราม(ใต้)หลวงปู่ใจ วัดเสด็จหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อมหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลมหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้หลวงพ่อฉุย วัดคงคารามหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดันพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคารามหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลนหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ฯลฯ

(จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน) บันทึกไว้ ที่หลงเหลืออยู่มีดังต่อไปนี้
พิธีกรรมเนื่องด้วยการสร้างพระเนื้อทองเหลืองนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่าง ๆ ในพระนครฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด มากท่านด้วยกันได้ทำการลงเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำการปลุกเสกทองเหลืองที่จะหลอมเทเป็นองค์พระตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ สถานที่ทำพิธีในพระอุโบสถนั้น พิธีกรรมนั้นใหญ่โตแข็งแรงมาก
เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่ง ๆ จากแกนชนวน และเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณเกือบ ๓ เซนติเมตรครึ่ง ความยาวประมาณเกือบ ๕ เซนติเมตรครึ่ง ความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ และใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ ระฆังหลังฆ้อน โดยบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น
ลักษณะพิมพ์พระเป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว ๒ ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็นเม็ดกลม รายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพิมพ์ปรกโพธิ์ ด้านหลัง เป็นแบบเรียบ ตอนสร้างสมัยนั้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งไม่ได้ขัดแต่งให้เช่าองค์ละ ๑ บาท อีกอย่างหนึ่งเป็นพระขัดแต่งให้เช่าองค์ละ ๒ บาท วิธีขัดท่านจ้างโยมปั้นผู้ชำนาญในการพระ ซึ่งแกอยู่ที่หอไตรฯในสระ เอาตะไบลงตะไบที่มุมทั้งสองตอนบน และข้างทั้งสอง ทำให้มีรูปลักษณะมนๆ แล้วเอากระดาษทรายลงขัดอีกจนทั่วทั้งด้านหน้าและหลัง แล้วจึงเอารากลำพูลงขัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วดูงามมาก ทั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฯ ท่านรวบรวมเงินเอาไปปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญและพระอุโบสถ ที่แจกให้แก่ผู้ที่ควรแจกก็มีมาก
เมื่อพระรุ่นที่ ๑ หมด จึงทำเป็นรุ่นที่ ๒ ตอนนี้ผู้เขียน (พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓ ) บวชเณรแล้ว การทำพระรุ่นที่ ๒ นี้ ทำพิธีเพียงเล็กน้อยไม่ได้ทำในบริเวณพระอุโบสถ โดยเอามาเททองที่ริมเขื่อนหน้าคณะ ๓นิมนต์พระสวดมนต์และชยันโตที่หอกลางคณะ ๑ การใช้ทองเหลืองหลอมเพื่อเทพระ ก็เอาทองเหลืองกับชนวนที่เข้าพิธีแล้ว เมื่อทำครั้งที่ ๑ ยังเหลือเก็บไว้มารวมกันเทพระรุ่นที่ ๒ โดยปกติแล้วสมเด็จอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า ท่านไม่โปรดเลยที่จะสร้างพระเครื่องเพิ่มเติมโดยส่วนประกอบนั้น ๆ ไม่ได้ทำพิธีปลุกเสก ท่านทำขึ้นครั้งที่ ๒ ท่านก็ว่าทองเหลืองทั้งหมด ตลอดจนชนวนพระทั้งหมด ได้ปลุกเสกบริกรรมจากพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณมาแล้วตั้งแต่ครั้งที่ ๑ พระสมเด็จทองเหลืองนี้มีน้อยไม่แพร่หลาย และเป็นที่เล่าลือกันว่ามีประสิทธิคุณไม่น้อยเหมือนกัน เล่ากันว่า ผู้มีพระติดตัวลงไปในนาในหนองที่มีปลิงชุกชุม ปลิงไม่เกาะ
จากข้อสันนิษฐานของผู้เขียนหนังสือบอกว่าน่าจะสร้างในช่วงปลายปี ๒๔๕๓-๒๔๕๔ เพราะช่วงนี้ เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ทำให้มีพระเกจิอาจารย์ทั้งหลายจากทั่วประเทศ ได้รับการนิมนต์มาในพระราชพิธีเป็นจำนวนมากครับ

อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือสอง
  • ลงขายเมื่อ10 พ.ย. 2565 22:55 น.
  • ตำแหน่งประกาศคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  • หมายเลขประกาศ367113811
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด