English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 1
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 2
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 3
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 4
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 5
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 6
หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง รูปที่ 7
1 / 7

หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ ปิดทอง

฿ 3,900

รายละเอียดสินค้า

เปิดให้บูชา 💖💖💖 3900 บาท 💖💖💖 🙏🙏หลวงพ่อโต (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา โลหะปิดทองแท้ ยาว 11 นิ้ว สูง 5.5 นิ้ว #พระบูชา#พระขนาดบูชา#พระแท้บูชาแล้วสบายใจ🙏วัดสะตือ 140 บ้านท่างาม หมู่ที่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักในปีพุทธศักราช 2413 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ได้มาทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางพุทธไสยาสน์ ณ หมู่บ้านที่ถือกำเนิดที่วัดท่างาม ปัจจุบันคือ วัดสะตือ ซึ่งพระนอนใหญ่มีขนาดความยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 16 เมตร องค์พระโปร่ง เบื้องพระปฤษฎางค์(ด้านหลัง) ทำเป็นช่อง ใช้ระยะเวลาสร้างอยู่ประมาณ 2 ปีจึงแล้วเสร็จ สถานที่ก่อสร้างองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ณ ที่ริมคูวัด ด้านตะวันออก ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักประวัติโดยย่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150(ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณ 7 ปี ที่บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4-5 มรณภาพในต้นสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นพระสงฆ์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส มีความสมถะนอกจากนี้ ยังได้สร้างถาวรวัตถุไว้หลายแห่ง และมักจะชอบสร้างของที่โตๆ ซึ่งกล่าวกันว่า เพื่อจะให้สมกับนามที่ชื่อ "โต" ที่โดดเด่นและเป็นปูชนียวัตถุ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างเป็นอนุสรณ์เนื่องในตัวท่าน คือ พระนอนใหญ่วัดสะตือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ "พระพุทธไสยาสน์" เป็นที่ระลึกว่าท่านได้ "เกิด" ที่นั่น, พระพุทธรูปใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง พระนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" เป็นที่ระลึกว่าท่านได้ "สอนนั่ง" ที่นั่น และ พระยืนใหญ่ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระก่ออิฐถือปูนปางอุ้มบาตร เรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" เป็นที่ระลึกว่าท่าน "สอนยืนเดิน" ได้ที่นั่นการบูรณซ่อมแซมองค์พระพุทธไสยาสน์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2465 องค์พระและสิ่งก่อสร้างเริ่มชำรุดทรุดโทรม ทางวัดเริ่มทำการปฏิสังขรณ์ 4 ปี จึงแล้วเสร็จ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 และได้จัดให้มีการประชุมนมัสการและปิดทององค์พระนอนในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 12 และวันขึ้น 13-15 ค่ำ ในเดือน 5การบูรณะครั้งที่ 2 พ.ศ. 2465 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม กับคณะ เดินทางมาปิดทองพระนอนวัดสะตือพ.ศ. 2465 เวลานั้นพระนอนอยู่ในสภาพที่ต้องบูรณะ ท่านนายกรัฐมนตรี จึงได้สั่งการให้ปฏิสังขรณ์พระนอนใหม่ ทั้งองค์ โดยบัญชาการให้กรมโยธาอำนวยการปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้ ปฏิสังขรณ์อยู่ 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ขนาดขององค์พระได้ลดไปจากขนาดเดิมไปมาก พระเกศของเก่าชำรุดและปัจจุบันนำมาเก็บรักษาไว้ในวิหารหน้าองค์หลวงพ่อโตการบูรณะครั้งที่ 3 พ.ศ. 2531 โดย พระครูพุทธไสยาภิบาล (หมึก อินฺทสโร) น.ธ. เอก (เจ้าอาวาสสมัยนั้น) ร่วมกับชาวบ้านบูรณะ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน 25 วัน จึงแล้วเสร็จการบูรณะครั้งที่ 4 เมื่อ ปี พ.ศ. 2540 โดยพระอธิการทองคำ คัมภีร์ปัญโญ (ทองคำ อินทโชติ) น.ธ. เอก (เจ้าอาวาสสมัยนั้น) ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณและทาสีน้ำองค์พระการบูรณะครั้งที่ 5 ปี พ.ศ.2546 โดยพระมหาจำรัส คุตตสีโล (เจ้าอาวาสสมัยนั้น) ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะและพ่นองค์หลวงต่อโตเป็นสีทอง และได้เปลี่ยนเม็ดพระสกจากแก้วใส เป็นนิลอัดก้อนการบูรณะครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2553 พระครูปริยัตยาธิคุณเจ้าอาวาสวัดสะตือ องค์ปัจจุบัน ร่วมกับนายณรงค์ อ่อนสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผู้อำนวยการศิลปากรที่ 3 จ.พระนครศรีอยุธยา บูรณะเพื่อซ่อมแซมรอยร้าวครั้งใหญ่ โดยลอกสี และทำการกระเทาะปูนเก่าที่หมดคุณภาพออกโดยฉาบปูนตำแบบโบราณปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ มี พระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 65 นิ้ว สูง 126 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497 พระนาคปรก สมัยทวาราวดี(ลพบุรี) เนื้อหินทราย (กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ)รอยพระพุทธบาทจำลอง มีอายุการสร้าง 100 กว่าปี เกศเก่าพระพุทธไสยาสน์เก็บไว้ในวิหาร พระวิหาร (กว้าง 7.80 เมตร ยาว 20.90 เมตร) ซึ่งสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีรูปทรงเป็นเรือสำเภา สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้พักอาศัยเมื่อคราวมาคุมการก่อสร้างองค์พระพุทธไสยาสน์งานเทศการประจำปี วันขึ้น 13-15 ค่ำ ในเดือน 5

ดูพระองค์อื่นๆ ใน Kaidee คลิ๊กที่ชื่อ พระสะสม นายพัฒนายุหรือ ในเพจhttps://www.facebook.com/Pattanayuuu/
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือสอง
  • ลงขายเมื่อ18 ม.ค. 2566 07:46 น.
  • ตำแหน่งประกาศสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
  • หมายเลขประกาศ367411096
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด