English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 1
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 2
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 3
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 4
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 5
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 6
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 7
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 8
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 9
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 10
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 11
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 12
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 13
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 14
เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา
หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562 รูปที่ 15
1 / 15

เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา หลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562

฿ 459
ลงขายโดยKan Kanyawee

รายละเอียดสินค้า

เหรียญท้าวมหาพรหมธาดาหลวงปู่ยูร วัดหนองป่าหมาก ปี 2562พิธีพุทธาภิเษก วัดหนองป่าหมาก ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้วโดย หลวงปู่ยูร ญาณวิโรเนื้อเทวฤทธิ์รมแดงซาติน พิมพ์ใหญ่ สูง 5 ซม.🔍สภาพไม่ผ่านการใช้ พร้อมกล่องเดิม ตามรูป💱เหรียญละ 459 บาn...+🚙ส่งEms 40🏦กรุงไทย🆚กสิกรไทย & พร้อมเพย์**รับประกันแท้ค่ะ**
พระพรหมเทพเจ้าในศาสนาฮินดู
พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा พฺรหฺมา; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; )ในพระพุทธศาสนาคือท้าวมหาธาดาปชาบดีพรหม เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท[1]
พระพระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์หรือห่าน พระชายาคือพระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้
ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ [2]
และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากท้อง และศูทรเกิดจากเท้า[3]
ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม[4] ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกันในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"[1] และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย[5]
ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น[6] ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"[7]
โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น[6]
พระพรหม เป็นเทวดาชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วไปในฉกามาพจร แต่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ) ในพระพุทธศาสนาพระพรหมนั้นมีหลายองค์ซึ่งต่างจากฮินดูที่มีพระพรหมเพียงพระองค์เดียว
พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น มีอธิบดีพรหมปกครองในเเต่ละชั้นโดยมีท้าวมหาธาดาปชาบดีพรหม เป็นพรหมาธิบดีสูงสุด และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม ไม่มีอธิบดีพรหมเพราะไม่มีรูปมีเเต่วิญญาณ อยู่ในสภาวะจิต
พระพรหมไม่มีเพศ เเต่จะเเสดงรูปลักษณ์เป็นบุรุษเพศ จึงไม่มีสตรีเพศในชั้นพรหม ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตวโลกในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่าย
Cr. วิกิพีเดีย
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือหนึ่ง
  • ลงขายเมื่อ01 พ.ย. 2566 10:58 น.
  • ตำแหน่งประกาศเมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์
  • หมายเลขประกาศ368692186
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด