English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 1
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 2
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 3
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 4
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 5
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 6
พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1) รูปที่ 7
1 / 7

พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (1)

฿ 3,200

รายละเอียดสินค้า

เปิดให้บูชา 💖💖💖 3200 บาท 💖💖💖 (1)🙏🙏พระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ใต้ฐานมีเหรียญดวงเมือง รวมครอบแก้ว สูง 8 นิ้ว ฐาน 3.25 นิ้ว เฉพาะเสาหลักเมือง สูง 5 นิ้ว ปี พ.ศ.2533** กลีบบัวมีรอยบิ่น 1 กลีบ **#พระบูชา#พระขนาดบูชา#พระแท้บูชาแล้วสบายใจ🙏ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังการสร้างหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องราวที่บันทึกไว้เป็นดังนี้ "หลังจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จกรีธาทัพเหยียบพระนคร ได้เพียงสองวัน วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ก็มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันตก ได้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 06.54 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง พระราชวังใหม่ให้ตั้งในที่ซึ่งพระยาราชเศรษฐีและพวกจีนอยู่เดิม โดยโปรดให้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง แล้วจึงได้ฐาปนาสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ล้อมด้วยปราการระเนียดไม้ไว้ก่อน พอเป็นที่ประทับ" จากข้อความข้างต้นมีเรื่องสำคัญอยู่ประการหนึ่งคือการยกเสาหลักเมือง ซึ่งถือว่าเป็นมิ่งขวัญสำคัญของเมืองแต่เสาหลักเมืองและดวงชาตาพระนคร ที่ปรากฏในปัจจุบัน มิใช่ของที่สถาปนาในรัชกาลที่ 1 เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ว่า "แลที่ศาลเจ้าหลักเมือง ศาลพระกาฬ ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง และศาลเจ้าพ่อเจตคุปต์นั้น เดิมเป็นแต่หลังคาตังไม้มุงกระเบื้อง ทรงพระกรุณาโปรดให้ช่างก่อรอบ มียอดปรางค์อย่างศาลพระกาฬที่กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาเก่า ทั้งสี่ศาลและหอกลางนั้นเดิมสองชั้นสามชั้น ขัดแตะถือปูนทำเป็นยอดเกี้ยว โปรดให้ทำใหม่ก่อผนังถือปูน แปลงเป็นยอดมณฑป... แล้วทรงพระราชดำริถึงหลักเมืองชำรุด ทำขึ้นใหม่ แล้วจะบรรจุดวงชาตาเสียใหม่ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้ายแรมเก้าค่ำ จ.ศ.1214(พ.ศ.2395) พระฤกษ์จะได้บรรจุดวงพระชาตาพระนครลงด้วยแผ่นทองคำหนัก 1 บาท แผ่กว้าง 5 นิ้ว จารึกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ กรมหมื่นบวรรังษี กับพระสงฆ์ราชาคณะอีกสามรูป รวมห้ารูป เมื่อเวลาจารึกได้เจริญพระปริตแล้วพระฤกษ์ 12 พระยาโหราธิบดีได้บรรจุที่หลักเมือง เสร็จแล้วก็มีการสมโภชน์"ลักษณะของเสาหลักเมืองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้สร้างใหม่นั่นเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ สูง 108 นิ้ว กว้างผ่านศูนย์กลาง 30 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ปลายเสาเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ บรรจุเทวรูปและดวงซาตากรุงเทพมหานครที่เรียกกันว่า "เจ้าพ่อหลักเมือง" ก็ควรได้แก่ เทวรูปองค์นี้ไม่ใช่ตัวเสาและเทวรูปองค์นี้ก็มีพิธีประกาศเทวดาอัญเชิญเทพเจ้าเข้าประดิษฐานในเทวรูปดังปรากฏในหนังสือประกาศพระราชพิธี เล่ม 1 มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าแต่ท้าวเทวราชสุรารักษ์ อันควรจะเสด็จสถิตนิวาสนานุรักษ์ บนยอดหลักสำหรับพระมหานคร ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญเทพยมหิทธิมเหศวรผู้ทรงศักดิ์สิทธิ์จงเข้าสิงสู่สำนักในเทวรูปซึ่งประดิษฐานบนยอดบรมมหานครโตรณ อันบบรจุใส่สุพรรณบัตร จารึกดวงพระชันษากรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยาบรมราชธานีนี้ จงช่วยคุ้มครองป้องกันสรรพไพรีราชดัษกร อย่าให้มาบีฆาถึงพระมหานครราชธานี และบุรีรอบขอบเขตขัณฑ์สีมามณฑล ทั่วสกลราชอาณาประวัติ" เนื่องจากพระราชพิธีอัญเชิญเทวดาสิงสถิตในเทวรูปดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้ "เจ้าพ่อหลักเมือง" มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของมหาชนมาก จากบันทึกรับสั่งสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ในหนังสือวงวรรณคดี ฉบับเมษายน 2491 ได้ทรงอธิบายประเพณีการตั้งหลักเมืองไว้ว่า "หลักเมืองเป็นประเพณีพราหมณ์มีมาแต่อินเดียไทยตั้งหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์ ที่จะเกิดหลักเมืองนั้นคงเป็นด้วยประชุมชน ประชุมชนนั้นต่างกัน ที่อยู่เป็นหมู่บ้านก็มี หมู่บ้านหลาย ๆ หมู่รวมเป็นตำบล ตำบลเป็นตำบล ตำบลตั้งขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอนั้นเดิมเรียกว่าเมือง เมืองหลายๆ เมืองรวมกันเป็นเมืองใหญ่ เมืองใหญ่หลายๆ เมือง เป็นมหานคร คือ เมืองมหานคร"ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ. 2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 องค์ ที่คอยพิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมือง คือพระเสื้อเมือง รูปเทวดาสวมมงกุฏ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง ความสูง 93 ซม. พระหัตถ์ซ้ายถือคทา พระหัตถ์ขวาทรงจักร มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากอริราชศัตรูมารุกรานพระทรงเมือง รูปเทวดาสวมมงกุฏ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง ความสูง 88 ซม. พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวายกชูขึ้นถือสังข์หลั่งน้ำเทพมนตร์ มีหน้าที่รักษาการปกครอง กระทรวง ทบวง กรม และดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดีพระกาฬไชยศรี เป็นรูปพระกาฬประทับอยู่บนหลังนกแสก พระกาฬเป็นบริวารของพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลกเจ้าเจตคุปต์ เป็นเทพารักษ์แกะสลักด้วยไม้ เป็นบริวารของพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และอ่านประวัติของผู้ตายเสนอต่อพระยมเจ้าหอกลอง เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง มีหน้าที่แจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เช่น เมื่อเกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร และคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ เที่ยงคืนเสาหลักเมืองที่ประดิษฐาน ณ ศาลพระหลักเมือง มีสองต้น เสาเดิมครั้งรัชกาลที่ 1 คือต้นสูง ที่ได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว แต่หาที่เก็บเหมาะสมไม่ได้ จึงคงไว้อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือสอง
  • ลงขายเมื่อ08 พ.ย. 2566 22:12 น.
  • ตำแหน่งประกาศสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
  • หมายเลขประกาศ368738075
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด