English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 1
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 2
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 3
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 4
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 5
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 6
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 7
หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539 รูปที่ 8
1 / 8

หลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2539

฿ 4,500

รายละเอียดสินค้า

เปิดให้บูชา 💖💖💖 4500 บาท 💖💖💖 🙏🙏หลวงพ่อมงคลบพิตร วิหารมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา โลหะผสม หน้าตัก 5 นิ้ว ฐาน 8.5 นิ้ว สูง 10.5 นิ้ว ปี พ.ศ.2539#พระบูชา#พระขนาดบูชา#พระแท้บูชาแล้วสบายใจ🙏🙏พระมงคลบพิตร Phra Mongkhon Bophit (หลวงพ่อมงคลบพิตร) วิหารพระมงคลบพิตรตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์-พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" (Historic City of Ayutthaya) ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2534พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธลักษณะแบบสมัยอยุธยาตอนต้นผสมผสานกับศิลปะสุโขทัย ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา มีสังฆาฏิพาดเหนือพระอังสาซ้าย ชายยาวลงมาจรดพระนาภี ภายในองค์พระก่ออิฐเป็นแกนแล้วบุด้วยทองสัมฤทธิ์ (หล่อ) มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์พระ 12.45 เมตร ส่วนฐานบัวสูง 4.50 เมตร รวมส่วนสูงทั้งหมด 16.95 เมตร พระเศียรวัดโดยรอบตรงบริเวณเหนือพระกรรณ 7.25 เมตร พระพักตร์กว้าง 2.32 เมตร บัวหงายระหว่างพระรัศมีกับพระเกศาเมาลีสูง 43 ซม. พระรัศมีเหนือบัวหงายสูง 1.30 เมตร พระกรรณยาวข้างละ 1.81 เมตร พระเนตรยาวข้างละ 1.05 เมตร พระนาสิกยาว 1.20 เมตร พระโอษฐ์ยาว 1.16 เมตรเป็นพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประวัติวิหารพระมงคลบพิตร ตามพระราชพงศาวดาร บริเวณที่ตั้งวิหารนี้เคยเป็นวัดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพราะระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. 2146 โปรดให้ชะลอพระพุทธรูปขนาดใหญ่นามว่า “มงคลบพิตร” มาจากพื้นที่ทางตะวันออก พร้อมทั้งก่อมณฑปครอบ ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระมงคลบพิตรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้ทำบัวหงายคั่นระหว่างพระเกตุมาลากับพระรัศมี ส่วนมณฑปนั้น ก็โปรดให้รื้อเครื่องบนออก แล้วก่อหลังคาให้เหมือนดังพระวิหารทั่วไปต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 นั้นพม่าเข้าใจว่าพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปทองคำ จึงได้ใช้ไฟสุมลอกทองจนกระทั่งองค์พระ ตลอดจนพระวิหารได้รับความเสียหายมาก โดยเฉพาะเครื่องบนพระวิหารที่หักลงมา ต้องพระเมาฬีและพระกรข้างขวาจนชำรุด เสียหายมากในปี พ.ศ. 2463 จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น โดยพระยาโบราณราชธานินทร์(พร เดชะคุปต์) ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้มีการซ่อมแซมองค์พระโดยเฉพาะพระเมาฬี และพระกรข้างขวาด้วยปูนปั้น รวมถึงพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ก็ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ด้วยพ.ศ. 2474 คุณหญิงอมเรศ ศรีสมบัติ มีศรัทธาที่จะปฏิสังขรณ์ฐานพระมงคลบพิตรขึ้นใหม่ ครั้งนั้นได้ลบรอยปูนปั้นของเดิมออกจนหมด เพื่อทำเป็นผ้าทิพย์ลวดลายใหม่แทนพ.ศ.2498 รัฐบาลไทยได้เชิญ ฯพณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีพม่า มาเยือนประเทศไทย และได้มาเยือนอยุธยาเป็นกรณีพิเศษ ท่านได้กล่าวขอขมาต่อการที่กองทัพพม่า ได้กระทำต่อกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท สมทบกับฝ่ายรัฐบาลไทยที่ออกเงินจำนวน 250,000 บาท เพื่อร่วมกันสร้างหลังคาวิหารพระมงคลบพิตรใหม่ ดังที่ปรากฏในปัจจุบันพ.ศ. 2499 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระมงคลบพิตร และพระวิหารขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะองค์พระมงคลบพิตรนั้น ได้ลงสีดำตลอดทั้งองค์พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระพุทธรูป พระมงคลบพิตรจำลองได้ประทานพระดำริว่า ควรปิดทององค์พระมงคลบพิตรเพื่อให้องค์พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะที่งดงาม น่าเลื่อมใสศรัทธาประกอบกับเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงนมัสการพระมงคลบพิตร และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระมงคลบพิตร ดังนั้นทางจังหวัดจึงร่วมกับมูลนิธิพระมงคลบพิตร ดำเนินการบูรณะปิดทององค์พระมงคลบพิตร เพื่อความสง่างามตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ ทั้งนี้โดยการจัดทำเป็น โครงการบูรณะปิดทององค์พระมงคลบพิตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ใน พ.ศ. 2535***ในคราวบูรณะซ่อมแซมองค์หลวงพ่อมงคลบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2499-2500 กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรูปหลายองค์ บรรจุอยู่ภายในพระอุระด้านขวาขององค์พระ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (จ.พระนครศรีอยุธยา)

ดูพระองค์อื่นๆ ใน Kaidee คลิ๊กที่ชื่อ พระสะสม นายพัฒนายุหรือ ในเพจhttps://www.facebook.com/Pattanayuuu/Line ID : กดเพื่อดูเบอร์โทร xxxxxx774 (ค้นใน ไอดี)
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือสอง
  • ลงขายเมื่อ22 มี.ค. 2567 15:57 น.
  • ตำแหน่งประกาศสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
  • หมายเลขประกาศ369323535
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม
หลวงพ่อมงคลบพิตร 5 นิ้ว ปิดทอง ปี 2525 PREMIUM
หลวงพ่อมงคลบพิตร 5 นิ้ว ปิดทอง ปี 2525
สวนหลวง กรุงเทพมหานคร
฿ 6,900
พระบูชามงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 47 PREMIUM
พระบูชามงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 47
หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
฿ 3,900
พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539
พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539
เมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์
฿ 259
พระพุทธสถาพรมงคล (หลวงพ่อโต) วัดถาวรวราราม วัดญวน เค่งซิ่วหยี่ หน้าตัก 5 นิ้ว ปี 2539 เสริมมงคล
พระพุทธสถาพรมงคล (หลวงพ่อโต) วัดถาวรวราราม วัดญวน เค่งซิ่วหยี่ หน้าตัก 5 นิ้ว ปี 2539 เสริมมงคล
พญาไท กรุงเทพมหานคร
฿ 5,999
พระพุทธสถาพรมงคล (หลวงพ่อโต) วัดถาวรวราราม วัดญวน เค่งซิ่วหยี่ หน้าตัก 5 นิ้ว ปี 2539 เสริมสิริมงคลมงคล
พระพุทธสถาพรมงคล (หลวงพ่อโต) วัดถาวรวราราม วัดญวน เค่งซิ่วหยี่ หน้าตัก 5 นิ้ว ปี 2539 เสริมสิริมงคลมงคล
พญาไท กรุงเทพมหานคร
฿ 5,999
พระบรมรูปในหลวง รัชกาลที่ 9 จัดสร้างโดยกรมราชองครักษ์ รุ่น 2 ปี 2539 ที่สุดของมงคลแห่งชีวิต ที่สุดของความหายาก
พระบรมรูปในหลวง รัชกาลที่ 9 จัดสร้างโดยกรมราชองครักษ์ รุ่น 2 ปี 2539 ที่สุดของมงคลแห่งชีวิต ที่สุดของความหายาก
บางกรวย นนทบุรี
฿ 18,000

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด