English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
หลวงพ่อโต วัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ องค์จิ๋ว รูปที่ 1
หลวงพ่อโต วัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ องค์จิ๋ว รูปที่ 2
หลวงพ่อโต วัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ องค์จิ๋ว รูปที่ 3
หลวงพ่อโต วัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ องค์จิ๋ว รูปที่ 4
หลวงพ่อโต วัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ องค์จิ๋ว รูปที่ 5
1 / 5

หลวงพ่อโต วัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ องค์จิ๋ว

฿ 450

รายละเอียดสินค้า

หลวงพ่อโตรุ่นนี้สร้างเมื่อปี ๒๕๒๑ ในวาระครบรอบ๖๐ปีหลวงพ่อสุนทร เจ้าอาวาสวัดท่าพระเจริญพรตรูปปัจจุบัน
ประวัติวัดท่าพระเจริญพรตเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมเรียกว่า วัดบ้านมะเกลือ ตรงตามชื่อของหมู่บ้าน (บริเวณโดยรอบบ้านแต่เดิมเป็นดงต้นมะเกลือ) เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๓ ในรัชสมัยของ พระรามราชาธิราช (พ.ศ. ๑๙๓๘ - ๑๙๕๒) ซึ่งตรงกับ สมัยสุโขทัยตอนปลาย ติดต่อกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๓ มีประวัติเล่ากันมาว่า ชาวตำบลบ้านมะเกลือเคยได้จัดสถานที่ประทับถวาย และรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครั้งทรงเสด็จมณฑลนครสวรรค์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ทรงประราชทานนามวัดเขาดินใต้ไว้ว่า วัดพระหน่อธรณินทร์ใกล้วารินทร์คงคาราม และทรงพระราชทานตำแหน่งหม่อมหลวงให้แก่หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็น บุตรตรีของขุนบรรจง หมู่บ้านตรงนั้นจึงเรียกกันว่า หมู่บ้านหม่อม ซึ่งตั้งอยู่ ณ หมู่ ๓ ตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาปี พุทธศักราช ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประภาสต้นมายังมณฑลนครสวรรค์ ประชาชนชาวบ้านมะเกลือได้จัดตั้งพลับพลา รับเสด็จ (และภายหลังพระองค์ได้ทรงพระราชทานนามกำนันตำบลบ้านมะเกลือคนแรก เป็นขุนแสงมะเกลือคราม) ต่อจากนั้นได้เสด็จไปอำเภอเก้าเลี้ยว และเลยไปจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเสด็จกลับได้ทรงแวะที่วัดเขาดิน ทรงศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อเฮง เจ้าอาวาส ต่อมาทรงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิสิสสมถคุณ จากนั้นได้เสด็จไป บ้านบางพระหลวง ทรงพระราชทานทรัพย์ ๘๐ บาท ถวายเจ้าอาวาสวัดบางพระหลวง เพื่อบำรุงวัด
(จากหนังสือเสด็จประพาสต้น)การสำรวจรอบอุโบสถได้พบเศษเครื่องถ้วย ชาม สมัยสุโขทัยหลายชิ้น หลักฐานทางโบราณคดี ประเภทอื่นที่ยังคงเหลือในปัจจุบัน คือ ลวดลายปูนปั้นที่ประดับที่อุโบสถ เป็นศิลปกรรมแบบอยุธยาตอนปลายตั้งแต่หลังรัชกาลของพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา (ราวปี พ.ศ. ๒๑๗๒ - ๒๓๑๐) เป็นวัดป่ารกชัฏกลับมาเป็นวัดที่สมบูรณ์อีกครั้ง วัดท่าพระเจริญพรต ถูกทิ้งร้างจนบริเวณโดยรอบกลายเป็นป่ารกชัฏ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๕ พระอธิการเทียน ธมฺมสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาส ได้ปรับปรุงอาคารต่างๆ ได้แก่ อุโบสถและก่อสร้างมณฑปจำนวน ๓ หลัง จนสามารถตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของ กรมการศาสนาได้อีกครั้งหนึ่ง และมีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันวัดท่าพระเจริญพรต เป็นวัดประจำตำบลบ้านมะเกลือ และเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระภิกษุ สามเณร ในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง โดยเปิดเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี แผนกสามัญ ซึ่งเริ่มดำเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ และได้รับยกย่องเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ มีพระภิกษุและสามเณรสอบได้เป็นจำนวนมาก และมีสอบได้ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค ในนามสำนักศาสนศึกษาวัดท่าพระเจริญพรต มีศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เปิดโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ที่จัดขึ้นโดยวัด ทั้งยังเป็นสถานที่ศึกษาอบรมวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๔ ประจำจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันวัดท่าพระเจริญพรต มีพระสงฆ์จำพรรษาปีละประมาณ ๕๕ รูป และสามเณร ๕๐ รูป (ประมาณปีละ ๙๐ - ๑๐๐ รูป)
หลวงพ่อโต พระประธานในอุโบสถวัดท่าพระเจริญพรตปูชนียวัตถุได้แก่พระประธานในพระอุโบสถเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก เจดีย์ด้านหน้าอุโบสถเป็นเจดีย์ย่อมมุมก่ออิฐถือปูนขนาดย่อมองค์หนึ่ง ใกล้กันอีกองค์หนึ่ง ซึ่งเล่าสืบกันมาว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้าง ตั้งแต่ยังทรงครองหัวเมืองเหนือที่เมืองพิษณุโลก ตั้งอยู่ทางทิศใต้เยื้อง ๆ ด้านหน้าอุโบสถ และเจดีย์รายขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าและด้านข้างมณฑปมี 9 องค์ ด้านหลังวัดด้านทิศตะวันออกเป็นสวนป่าสำหรับปฏิบัติธรรม และฌาปนสถาน ความเป็นมา วัดท่าพระเจริญพรต เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเดิมเรียกวัดบ้านมะเกลือ ตรงตามชื่อหมู่บ้าน (เพราะบริเวณโดยรอบบ้านแต่เดิมเป็นดงต้นมะเกลือ) สร้างเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.1943 ในรัชสมัยพระรามราชาธิราช (พ.ศ. 1938 ; 1952) ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย ติดต่อสมัยกรุงศรีอยุทธยาตอนต้น รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.1953
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือสอง
  • ลงขายเมื่อ26 มี.ค. 2567 16:42 น.
  • ตำแหน่งประกาศเมืองนครสวรรค์ นครสวรรค์
  • หมายเลขประกาศ369343417
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม
พระสมเด็จโต พ่อท่านคลิ้ง วัดนาสีทอง สงขลา
พระสมเด็จโต พ่อท่านคลิ้ง วัดนาสีทอง สงขลา
เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
฿ 100
เหรียญ สมเด็จโต วัดใหม่อมตรส
เหรียญ สมเด็จโต วัดใหม่อมตรส
ปากเกร็ด นนทบุรี
฿ 1,500
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ลอยองค์ เนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ รุ่นกาญจนาภิเษก วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม พ.ศ.2540 พร้อมกล่องเดิม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ลอยองค์ เนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ รุ่นกาญจนาภิเษก วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม พ.ศ.2540 พร้อมกล่องเดิม
เมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ
฿ 2,200
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ลอยองค์ เนื้อเงิน 3K พิมพ์ใหญ่ รุ่นกาญจนาภิเษก วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม พ.ศ.2540 พร้อมกล่องเดิม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ลอยองค์ เนื้อเงิน 3K พิมพ์ใหญ่ รุ่นกาญจนาภิเษก วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม พ.ศ.2540 พร้อมกล่องเดิม
เมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ
฿ 2,200
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ลอยองค์ เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก สูง 1.6 เซ็น วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม พ.ศ.2540 พร้อมกล่องเดิม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ลอยองค์ เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก สูง 1.6 เซ็น วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม พ.ศ.2540 พร้อมกล่องเดิม
เมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ
฿ 1,300
สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี  วัดใหม่อมตรส  กรุงเทพมหานคร ปี ๒๕๓๑
สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดใหม่อมตรส กรุงเทพมหานคร ปี ๒๕๓๑
วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
฿ 4,000

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด