English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว รูปที่ 1
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว รูปที่ 2
1 / 2

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว

฿ 45,500,000
ลงขายโดยMIT amulet premium

รายละเอียดสินค้า

หน้าต่างพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ : พิมพ์ใหญ่ หลังแบบพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ : พิมพ์ใหญ่ หลังแบบพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ : พิมพ์ใหญ่ หลังแบบพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ : พิมพ์ใหญ่ หลังแบบพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ : พิมพ์ใหญ่ หลังแบบพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์:พิมพ์ใหญ่หลังประวัติหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ผู้สร้างพระปิดตาเนื้อคลุกรักหรือเนื้อจุ่มรักอันลือลั่น เท่าที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ยังไม่ชัดเจน ทุกประเด็นเป็นเรื่องเล่าปากต่อปาก หาประจักษ์หลักฐานยืนยันไม่ได้
ที่เขียนกันในช่วงระยะหลัง...หลวงพ่อแก้วมรณภาพปี 2431 คาดว่าท่านอายุราว 85-90 ปี ปีที่หลวงพ่อแก้วมรณภาพ ผู้เขียนใช้เกณฑ์ จากประวัติวัด หลวงพ่อแจ่มขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปี 2432
ย้อนไปค้นหนังสือ ประวัติหลวงพ่อแก้วในหนังสือช่วงแรกๆ ประชุม กาญจนวัฒน์ บรรยายประกอบภาพพระไว้ในหนังสือภาพพระสี ตีพิมพ์ปี 2529 ไว้อย่างหนักแน่นมั่นคง หลวงพ่อแก้วเกิดที่บ้านบางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรีราวปี พ.ศ.2385อายุครบบวช บวชที่วัดพระทรงเพชรบุรี ธุดงค์ไปอยู่วัดเครือวัลย์ ชลบุรี และมรณภาพที่วัดเครือวัลย์ ประมาณปี พ.ศ.2470
ข้อสังเกต... ประชุม กาญจนวัฒน์ ไม่ได้อ้างหลักฐานเอกสาร และตัวบุคคลที่น่าเชื่อถือ ปีเกิดและปีมรณภาพ ใช้คำว่า ประมาณทั้งสิ้นข้อมูลสองชุดนี้ ข้อมูลชุดแรก ปีมรณภาพ ใช้เกณฑ์หลวงพ่อแจ่ม เป็นสมภารองค์ต่อจากท่าน ดูแล้วหนักแน่นน่าเชื่อถือกว่า ข้อมูลชุดที่ ประชุม กาญจนวัฒน์ เขียน วันมรณภาพข้อมูลสองชุด...ปีมรณภาพของท่านต่างกัน 39 ปีการดูพระของผู้ชำนาญการ อายุ ความเก่า ถือเป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาไม่น้อยกว่าพิมพ์ทรง จากองค์ของจริง เพราะฉะนั้น การหาข้อยุติเรื่องอายุหลวงพ่อแก้ว จึงเป็นความจำเป็นข้อมูลชุดล่า จากวัดในปากทะเล วัดที่เชื่อกันว่า หลวงพ่อแก้วสร้างพระปิดตาพิมพ์ปั้น พระปลัดสมพิศ รุจิธัมโม สมภารวัดในปากทะเลรูปปัจจุบัน พบภาพพระเถระผู้ใหญ่ ในกรอบเก่าที่ชำรุด ซุกอยู่ใต้กองแผ่นกระดานใต้ถุนกุฏิสมภารเก่าข้างภาพพระเถระ มีตาลปัตรสองอัน (ไม่ใช่พัดยศ) ด้านหนึ่งเขียนว่า ร.ศ.124 อีกด้าน พรรษา 55
โดยปกติพระมักอุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ก็แสดงว่า ปีนั้น (ร.ศ.124 พ.ศ.2449) พระเถระรูปนั้นอายุ 75 ปีหากหลักฐานภาพถ่ายที่พบที่วัดในปากทะเล และอายุในภาพเป็นหลวงพ่อแก้วจริง ก็ขัดกับประวัติที่เขียนกันในระยะหลัง หลวงพ่อแก้วมรณภาพ เมื่อ พ.ศ.2431...จึงมีคำถามว่า ภาพนี้ เป็นภาพหลวงพ่อแก้ว...หรือไม่หลักฐานในภาพที่เชื่อกันว่าเป็นหลวงพ่อแก้ว ทางวัดไม่ระบุว่าได้ข้อมูลยืนยันจากทางใด เขียนคำบรรยายใต้ภาพซึ่งอัดภายหลังว่า พระวรคุณญาณมุนีนี่เป็นข้อมูลใหม่ หากพิสูจน์และยืนยันได้ แสดงว่าหลวงพ่อแก้ว ไม่ใช่พระลูกวัดหรือสมภารบ้านนอกธรรมดา ท่านเป็นพระราชาคณะ (เจ้าคุณ) ทีเดียวภาพที่เชื่อว่าเป็นหลวงพ่อแก้ว ภาพนี้วัดในปากทะเลอัดแจกจ่ายให้ญาติโยมไปบูชาจำนวนไม่น้อยความคืบหน้ามีเพียง พระผู้ใหญ่จากวัดเครือวัลย์ ชลบุรี เดินทางมาดูแล้ว และบอกว่า “เหมือนท่าน” เท่านั้น แต่ยังไม่มีข่าวการสืบสวนค้นคว้า และยืนยันเป็นทางการ
ข้อที่น่าพิจารณา เอาเกณฑ์สมมติ (ประมาณ) ถ้าหลวงพ่อแก้วมรณภาพเมื่ออายุ 85 ปี หลักฐานจากภาพถ่ายวัดในปากทะเล ก็ชี้ว่าหลวงพ่อมรณภาพอีกสิบปีต่อมา ประมาณปี 2459ตัวเลขวันมรณภาพชุดนี้ ใกล้เคียงและพอไปกันได้กับประวัติที่ประชุม กาญจนวัฒน์ เขียนไว้ประวัติส่วนที่ขัดแย้งอีกเรื่อง ประชุม กาญจนวัฒน์ เขียนว่า อาจารย์ที่ให้วิชาสร้างพระปิดตาให้หลวงพ่อแก้ว คือ หลวงปู่จีน วัดท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทรา ในขณะที่บางประวัติเขียนกลับด้าน หลวงพ่อแก้วเป็นอาจารย์หลวงปู่จีนทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากหนังสือหลายเล่ม จากสื่อหลายสำนัก หากทางวัดเครือวัลย์ มีผู้รู้และมีข้อมูลพอที่จะแจกแจงแสดงเหตุผล หาข้อยุติให้ผู้สนใจได้ ก็ถือเป็นคุณูปการสำคัญ แก่ผู้แสวงหาวิชาในวงการพระเครื่องในส่วนแม่พิมพ์ จำนวนพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว มีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก หลังแบบ หลังเรียบ หลังยันต์ พอได้เห็นกันจากภาพถ่ายพระมาตรฐานที่มีการซื้อขายองค์ละหลายๆล้าน ไปจนเกิน 20 ล้าน และพิมพ์ปั้นวัดในปากทะเล ซึ่งคล้ายรุ่นแลกซุง วัดเครือวัลย์ พอมีหลักให้จินตนาการเทียบเคียงกันได้ ไม่ว้าเหว่เกินไป
พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงพ่อแก้ว ใช้มวลสารจากว่านมงคล 108 ชนิด อาทิ ไม้ไก่กุก กาฝากรัก กาฝากมะยม กาฝากมะขาม ฯลฯ มาผสมกับ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ นำมาบดเป็นผงแล้วกรอง จากนั้นใช้น้ำรักเป็นตัวประสาน และเม็ดรักซึ่งได้จากต้นรักที่เป็นมงคลนามตำผสมลงไป แล้วกดพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระ ดังนั้น เนื้อองค์พระจะละเอียด นอกจากนี้มักปรากฏเม็ดสีน้ำตาล สีแดง ซึ่งเกิดจากว่านขึ้นประปราย และถ้าหากองค์พระสึกจะเห็นเนื้อในละเอียดเป็นสีน้ำตาลอมดำ คนโบราณจึงเรียก ‘เนื้อกะลา’ เพราะจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ คล้ายกะลาเก่าขัดมัน พระบางองค์จะมีการจุ่มรักหรือปิดทอง
ลักษณะพิมพ์ทรง เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมโค้งคล้ายๆ เล็บมือ องค์พระประธานประทับนั่ง ขัดสมาธิราบ พระวรกายอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระเนตร ในลักษณะป้องทั้งพระพักตร์ พิมพ์ด้านหน้า แบ่งออกเป็น 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์จิ๋ว และพิมพ์ปั้น จุดตำหนิสำคัญที่ควรพิจารณาอันดับแรกของ “พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว” ทุกองค์ทุกพิมพ์ คือ ต้องปรากฏ “เส้นศิระมณฑล” (เส้นรัศมี) รอบพระเศียร, สะดือต้องจุ่นออกมา และ ข้อศอกด้านขวาขององค์พระสูงกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย
พิมพ์ใหญ่ เป็น “พิมพ์นิยม” พระหัตถ์ที่ปิดหน้ามีลักษณะอูมและนูนขึ้นทั้งสองข้าง ไม่ปรากฏนิ้วพระหัตถ์ กรณีพระสึกปลายพระหัตถ์ทั้งสองข้างจะเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกันกับพระนลาฏ, มีกระจังบน แต่ความลึกตื้นแต่ละองค์ไม่เท่ากัน, พระกรรณด้านขวาขององค์พระติดพระอังสา ส่วนด้านซ้ายห่างเล็กน้อย, พระอังสาด้านขวาขององค์พระจะสูงกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย, ข้อพระหัตถ์ทั้งสองข้างเล็กและแยกห่างเป็นร่องขึ้นไปเห็นได้ชัดเจน, พระพาหา (ตั้งแต่หัวไหล่ถึงศอก) ทั้งสองข้างมีลักษณะอวบหนา ด้านนอกโค้งคล้ายกล้าม, พระเพลาอยู่ในท่านั่งสมาธิขัดราบ เป็นลำนูนหนาทั้งสองข้าง และปรากฏร่องเป็นแนวเฉียงที่คมลึกและชัด, ส้นพระบาทเรียวและกระดกขึ้นเล็กน้อย ปลายพระบาทงอนเล็กน้อย ปรากฏกำไลข้อพระบาทและส้นพระบาท, ด้านขวาบนจะโค้งคล้ายคันธนู ส่วนปลายเรียวบาง ถ้าพระกดพิมพ์ลึกจะเห็นปลายพระบาทยาวถึงแนวขอบนอกของพระพาหาด้านซ้าย อันถือเป็นจุดตำหนิสำคัญประการหนึ่ง
พิมพ์กลาง พระเศียรลักษณะกลมมน ไม่ปรากฏพระพักตร์ เนื่องจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นปิดไว้ และไม่ปรากฏนิ้วพระหัตถ์, พระกรรณทั้งสองข้างห่างจากพระพักตร์เล็กน้อย ลักษณะเป็นเส้นเรียวยาวแนวเฉียงจรดพระอังสาที่ยกสูงเสมอกันทั้งสองข้าง, พระพาหา (ตั้งแต่หัวไหล่ถึงศอก) ทั้งสองข้างมีลักษณะอวบหนาและกางออกด้านข้างเล็กน้อย ส่วนพระกร (ตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ) ทั้งสองอวบหนาเช่นกัน ข้อพระหัตถ์ทั้งสองข้างห่างเป็นร่องขึ้นไปเห็นได้ชัดเจน, พระกัปประ (ข้อศอก) ทั้งสองข้างโค้งมนได้รูป, พระเพลาอยู่ในท่านั่งสมาธิขัดราบ เป็นลำนูนหนาทั้งสองข้าง และปรากฏร่องเป็นแนวเฉียงที่คมลึกและชัด
พิมพ์เล็ก พระเศียรลักษณะกลมมน ไม่ปรากฏพระพักตร์ เนื่องจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นปิดไว้ และไม่ปรากฏนิ้วพระหัตถ์, พระกรรณติดชิดกับพระพักตร์มองคล้ายเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้พระพักตร์ดูกลมแบนและใหญ่กว่าปกติ, พระพาหา (ตั้งแต่หัวไหล่ถึงศอก) ทั้งสองข้างอวบหนาและทิ้งดิ่งลงมา ส่วนพระกร (ตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ) ทั้งสองอวบหนาแต่เล็กกว่าพระพาหา บางองค์ข้อพระหัตถ์ไม่ต่อเนื่องกับพระหัตถ์ จนมองดูคล้ายกับแขนด้วน, พระกัปประ (ข้อศอก) ทั้งสองข้างโค้งมนและยาวเกือบจรดพระเพลา, พระอุทรนูนพองาม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม, พระเพลาอยู่ในท่านั่งสมาธิขัดราบ เป็นลำนูนหนาทั้งสองข้าง และปรากฏร่องเป็นแนวเฉียงที่คมลึกและชัด
แม่พิมพ์ด้านหลัง ยังแบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หลังแบบ, พิมพ์หลังเรียบ และ พิมพ์หลังยันต์
พิมพ์หลังแบบ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระเหมือนด้านหน้าแต่กดเว้าลึกลงไป ช่วงพระเศียรจะไม่ลึกมากและรีคล้ายไข่เป็ด องค์ที่ติดชัดจะเห็นนิ้วพระหัตถ์รำไร นอกจากนี้การกดพิมพ์ลึกตื้นไม่เท่ากัน และขอบข้างไม่หนานัก
พิมพ์หลังเรียบ ด้านหลังเป็นหลังเรียบปกติ
พิมพ์หลังยันต์ (อุทับถม) ด้านหลังองค์พระจะมี “อักขระยันต์” ประทับไว้ โดยการใช้แม่พิมพ์กดประทับ จึงลึกคมชัดสม่ำเสมอ เพิ่มความเข้มขลังมากขึ้นกว่าพิมพ์อื่นๆ แต่มีจำนวนน้อยมาก
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือหนึ่ง
  • ลงขายเมื่อ15 เม.ย. 2567 22:15 น.
  • ตำแหน่งประกาศเมืองสุโขทัย สุโขทัย
  • หมายเลขประกาศ369431538
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด