English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 1
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 2
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 3
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 4
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 5
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 6
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 7
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 8
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 9
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 10
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา รูปที่ 11
1 / 11

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา

฿ 3,500

รายละเอียดสินค้า

เปิดให้บูชา 💖💖💖 3500 บาท 💖💖💖 🙏🙏หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา โลหะ หน้าตัก 5 นิ้ว ฐาน 7 นิ้ว สูง 9.5 นิ้ว ปี พ.ศ.2562#พระบูชา#พระขนาดบูชา#พระแท้บูชาแล้วสบายใจ🙏ประวัติพระพุทธไตรรัตนนายก 三寶公 วัดพนัญเชิงวรวิหารวัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยาพระพุทธไตรรัตนนายก หรือ "หลวงพ่อโต" หรือ "ซำปอกงฮุกโจ้ว" ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะอู่ทอง* ลงรักปิดทอง ขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 7 วา 10 นิ้ว สูงตลอดรัศมี 9 วา 2 ศอก (กว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร) และใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งได้สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อโต เลื่องชื่อลือชามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อใกล้จะเสียกรุง หลวงพ่อโต มีน้ำพระเนตรไหลมาทั้ง 2 ข้าง เป็นลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า ทั้งยังแสดงอิทธิปฏิหาริย์รอดพ้นจากการเผาผลาญ ทำลายของข้าศึกอย่างน่าอัศจรรย์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณวัดพนัญเชิงถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดถึง 20 ลูก แต่ไม่มีลูกใดเกิดระเบิดเลย ทั้งที่บริเวณห่างออกไปเกิดระเบิดเสียงดังตูมตามในสมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2363 เกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ หรือลูกเด็กเล็กแดงมีอาการ เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านจะมาขอน้ำพระพุทธมนต์ ขี้ธูป และดอกไม้บูชาองค์หลวงพ่อโต ไปดื่มกินจนหายจากโรคภัย ไข้เจ็บต่างๆ บารมีหลวงพ่อโต ยังช่วยขจัดทุกข์ภัยตลอดทั้งดลบันดาลให้โชคลาภ กิจการค้าเจริญรุ่งเรือง สมหวังเรื่องขอบุตร-ธิดา หลวงพ่อโต เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีน ที่มาตั้งภูมิลำเนาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า สมัยนั้นเดินทางกันโดยทางเรือ บริเวณลำน้ำที่หน้าวัดพนัญเชิง เป็นวังวนน้ำเชี่ยวจัด เรือ แพที่สัญจรไปมามักล่มอยู่เสมอ พ่อค้าวานิชชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายทางเรือ เมื่อได้กราบไหว้องค์หลวงพ่อโต ดลบันดาลให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทาง จึงมีความเคารพนับถือ หลวงพ่อโต อย่างยิ่ง พากันขานพระนามว่า “ซำปอกงฮุกโจ้ว” หรือ “หลวงพ่อซำปอกง” เจ้าผู้คุ้มครองทางทะเลองค์หลวงพ่อโตได้รับการบูรณะตลอดมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดให้บูรณะองค์หลวงพ่อโตใหม่ทั้งองค์ แล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2407 ทรงเสด็จพระราชดำเนินติดพระเนตรพระพุทธไตรรัตนนายก ด้วยถมปัก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี จัดเครื่องสังเวยถวายพระพุทธไตรรัตนนายก ตามแบบธรรมเนียมจีนในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2444 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่ผ้าห่มพระพุทธไตรรัตนนายก ไหม้ตั้งแต่พระนาภี(สะดือ) จดบริเวณพระอังสา (ไหล่) องค์พระชำรุดร้าวรานหลายแห่ง เช่น ที่พระอุระ(อก) ยาวเกือบ 2 เมตร กว้างครึ่งเมตรเศษ ที่พระปฤษฎางค์(บริเวณหลัง) ยาว 2 เมตรเศษ กว้างเกือบ 2 เมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้บูรณะคืนดีอย่างเก่า และในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินปิดทองพระพักตร์หลวงพ่อโต เป็นพระฤกษ์ แล้วโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการปิดต่อไปอีก สิ้นทอง 184,807 แผ่น พร้อมทั้งโปรด ให้มีการสมโภชน์เป็นเวลา 3 วันในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2471 พระหนุ(คาง) พระพุทธไตรรัตนนายก เกิดชำรุดทลายลงตลอดถึงพระปรางค์(แก้ม)ทั้งสองข้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร โปรดให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีขึ้นไปสำรวจ และทำแผนผังถวาย แล้วเริ่มทำการซ่อมจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2472ส่วนพระอุณาโลมนั้น เดิมเป็นทองแดงปิดทองคำเปลวประดับพลอย ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ พระญาณไตรโลก(ฉาย) เจ้าอาวาสได้เก็บ เศษทองที่เหลือติดกระดาษ ซึ่งผู้มานมัสการปิดทองทิ้งอยู่ในพระวิหารมารวมกันสำรอกได้ทองคำหนัก 11 บาท พระยาโบราณราช ธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่าและครอบครัว พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาอื่น ๆร่วมใจบริจาคทองคำสมทบหนัก 46 บาท ร่วมเปลี่ยนพระอุณาโลมใหม่เป็นทองคำ ยกขึ้นติดที่พระนลาฏ(หน้าผาก) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ดังปรากฏ อยู่จนปัจจุบันถึงรัชกาลปัจจุบันใน พ.ศ. 2491 ได้บูรณะแล้วลงรักปิดทององค์พระทั้งองค์ พ.ศ. 2534 – 2536 ได้บูรณะลงรักปิดทององค์พระและแท่นฐานทั้งหมด





ดูพระองค์อื่นๆ ใน Kaidee คลิ๊กที่ชื่อ พระสะสม นายพัฒนายุหรือ ในเพจhttps://www.facebook.com/Pattanayuuu/
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือหนึ่ง
  • ลงขายเมื่อ11 ธ.ค. 2565 17:40 น.
  • ตำแหน่งประกาศสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
  • หมายเลขประกาศ367260200
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด