English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 1
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 2
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 3
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 4
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 5
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 6
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 7
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 8
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 9
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 10
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 11
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 12
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 13
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง รูปที่ 14
1 / 14

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เฮง เฮง เฮง

฿ 19,000

รายละเอียดสินค้า

เปิดให้บูชา 💖💖💖 19000 บาท 💖💖💖🙏🙏หลวงพ่อโต (พระพุทธไตรรัตนนายก) วัดพนัญเชิงราชวรวิหาร อยุธยา โลหะลงรักปิดทอง รุ่น "เฮง เฮง เฮง" ฐาน 12 นักษัตร ปี พ.ศ. 2547 หน้าตัก 9 นิ้ว ฐาน 13 นิ้ว สูง 19 นิ้ว องค์พระสูงใหญ่ พัดยศถอดได้#พระบูชา#พระขนาดบูชา#พระแท้บูชาแล้วสบายใจ⚜️⚜️ประวัติพระพุทธไตรรัตนนายก 三寶公 วัดพนัญเชิงวรวิหารวัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยาพระพุทธไตรรัตนนายก หรือ "หลวงพ่อโต" หรือ "ซำปอกงฮุกโจ้ว" ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะอู่ทอง* ลงรักปิดทอง ขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 7 วา 10 นิ้ว สูงตลอดรัศมี 9 วา 2 ศอก (กว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร) และใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งได้สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อโต เลื่องชื่อลือชามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อใกล้จะเสียกรุง หลวงพ่อโต มีน้ำพระเนตรไหลมาทั้ง 2 ข้าง เป็นลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า ทั้งยังแสดงอิทธิปฏิหาริย์รอดพ้นจากการเผาผลาญ ทำลายของข้าศึกอย่างน่าอัศจรรย์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณวัดพนัญเชิงถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดถึง 20 ลูก แต่ไม่มีลูกใดเกิดระเบิดเลย ทั้งที่บริเวณห่างออกไปเกิดระเบิดเสียงดังตูมตามในสมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2363 เกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ หรือลูกเด็กเล็กแดงมีอาการ เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านจะมาขอน้ำพระพุทธมนต์ ขี้ธูป และดอกไม้บูชาองค์หลวงพ่อโต ไปดื่มกินจนหายจากโรคภัย ไข้เจ็บต่างๆ บารมีหลวงพ่อโต ยังช่วยขจัดทุกข์ภัยตลอดทั้งดลบันดาลให้โชคลาภ กิจการค้าเจริญรุ่งเรือง สมหวังเรื่องขอบุตร-ธิดา หลวงพ่อโต เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีน ที่มาตั้งภูมิลำเนาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า สมัยนั้นเดินทางกันโดยทางเรือ บริเวณลำน้ำที่หน้าวัดพนัญเชิง เป็นวังวนน้ำเชี่ยวจัด เรือ แพที่สัญจรไปมามักล่มอยู่เสมอ พ่อค้าวานิชชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายทางเรือ เมื่อได้กราบไหว้องค์หลวงพ่อโต ดลบันดาลให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทาง จึงมีความเคารพนับถือ หลวงพ่อโต อย่างยิ่ง พากันขานพระนามว่า “ซำปอกงฮุกโจ้ว” หรือ “หลวงพ่อซำปอกง” เจ้าผู้คุ้มครองทางทะเลองค์หลวงพ่อโตได้รับการบูรณะตลอดมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดให้บูรณะองค์หลวงพ่อโตใหม่ทั้งองค์ แล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2407 ทรงเสด็จพระราชดำเนินติดพระเนตรพระพุทธไตรรัตนนายก ด้วยถมปัก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี จัดเครื่องสังเวยถวายพระพุทธไตรรัตนนายก ตามแบบธรรมเนียมจีนในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2444 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่ผ้าห่มพระพุทธไตรรัตนนายก ไหม้ตั้งแต่พระนาภี(สะดือ) จดบริเวณพระอังสา (ไหล่) องค์พระชำรุดร้าวรานหลายแห่ง เช่น ที่พระอุระ(อก) ยาวเกือบ 2 เมตร กว้างครึ่งเมตรเศษ ที่พระปฤษฎางค์(บริเวณหลัง) ยาว 2 เมตรเศษ กว้างเกือบ 2 เมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้บูรณะคืนดีอย่างเก่า และในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินปิดทองพระพักตร์หลวงพ่อโต เป็นพระฤกษ์ แล้วโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการปิดต่อไปอีก สิ้นทอง 184,807 แผ่น พร้อมทั้งโปรด ให้มีการสมโภชน์เป็นเวลา 3 วันในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2471 พระหนุ(คาง) พระพุทธไตรรัตนนายก เกิดชำรุดทลายลงตลอดถึงพระปรางค์(แก้ม)ทั้งสองข้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร โปรดให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีขึ้นไปสำรวจ และทำแผนผังถวาย แล้วเริ่มทำการซ่อมจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2472ส่วนพระอุณาโลมนั้น เดิมเป็นทองแดงปิดทองคำเปลวประดับพลอย ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ พระญาณไตรโลก(ฉาย) เจ้าอาวาสได้เก็บ เศษทองที่เหลือติดกระดาษ ซึ่งผู้มานมัสการปิดทองทิ้งอยู่ในพระวิหารมารวมกันสำรอกได้ทองคำหนัก 11 บาท พระยาโบราณราช ธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่าและครอบครัว พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาอื่น ๆร่วมใจบริจาคทองคำสมทบหนัก 46 บาท ร่วมเปลี่ยนพระอุณาโลมใหม่เป็นทองคำ ยกขึ้นติดที่พระนลาฏ(หน้าผาก) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ดังปรากฏ อยู่จนปัจจุบันถึงรัชกาลปัจจุบันใน พ.ศ. 2491 ได้บูรณะแล้วลงรักปิดทององค์พระทั้งองค์ พ.ศ. 2534 – 2536 ได้บูรณะลงรักปิดทององค์พระและแท่นฐานทั้งหมด

ดูพระองค์อื่นๆ ใน Kaidee คลิ๊กที่ชื่อ พระสะสม นายพัฒนายุหรือ ในเพจhttps://www.facebook.com/Pattanayuuu/
อ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือสอง
  • ลงขายเมื่อ12 ม.ค. 2567 21:15 น.
  • ตำแหน่งประกาศสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
  • หมายเลขประกาศ368987980
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด