English translation for this page is currently unavailable. We are working on it, stay tuned!
menu-iconKaidee logo
chat
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 1
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 2
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 3
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 4
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 5
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 6
พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก รูปที่ 7
1 / 7

พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก

฿ 4,000
ลงขายโดยSorasit S.

รายละเอียดสินค้า

พระกริ่งนวปทุม ภปร เนื้อนวะ พ.ศ.2535 นิยม สร้างน้อย หายาก***พระตรงตามภาพ รับประกันแท้***สภาพสวย แท้ ดูง่าย ไม่ควรพลาดเนื้อ นวะขนาดสูง 3.5 เซ็น พระกริ่งนวปทุม ภปร. วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ถือว่าเป็นพระที่อยู่ในชุดของรัชกาลที่ 9 เพราะนอกจากจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้สามารถติดอักษร "ภปร"ที่องค์พระกริ่งนวปทุม ในหลวงท่านยังได้เสด็จเททองพระกริ่งชุดนี้ด้วยครับ นับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง พระกริ่ง ภปร.รุ่นแรกของประเทศไทยในหลวงเสด็จเททอง.....สังฆราช(สมเด็จญาณสังวร) อธิฐานจิต ทางคณะกรรมการได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมนาคุณ“มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา” ซึ่งแนวความคิดในการจัดสร้าง “พระกริ่งนวปทุม” นี้มีความสอดคล้องกับนามวัดคือ “ปทุมวนาราม” จึงนำต้นแบบมาจาก “พระกริ่งพระปทุม” หรือ “พระกริ่งใหญ่ของจีน” ที่ “พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” แห่งพระราชอาณาจักร “ขอม” ในอดีตกาลได้ทรงสร้างไว้เป็นปฐมและโดยเหตุที่ท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศนเทพวราราม” เคยทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า “การสร้างพระกริ่งของพระองค์ได้แบบอย่างมาจาก “พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์” คือมีพระพุทธลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงายพระหัตถ์ซ้ายทรงวชิราวุธ” คณะกรรมการจึงได้นำเอาแบบอย่างการสร้างพระกริ่งของ “วัดสุทัศน์ฯ” ตามกรรมวิธีของท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระสังฆราชแพ” มาสร้าง “พระกริ่งนวปทุม” ครั้งนี้กล่าวคือ “เนื้อโลหะ” ที่จะหล่อหลอมเป็นองค์กำเนิดมาจากแผ่น “พระยันต์ ๑๐๘” และ “นะปถมัง ๑๔ นะ” ประกอบพิธีกรรมลงอักขระบนแผ่นยันต์ครบถ้วนตามโบราณประเพณีดั้งเดิม ทุกประการ ส่วนมูลเหตุแห่งการเพิ่มจำนวน “บัว” ที่ฐานบัวคว่ำบัวหงายก็เป็นเพราะ “พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์” ในสมัย “พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” มี “บัวคว่ำบัวหงาย” เพียง “๗ คู่” ดังนั้นจึงเพิ่มบัวให้ “พระกริ่งนวปทุม” เป็น “๙ คู่” โดยมีเหตุผล “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงเป็น “พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙” และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.” ดังกล่าวมาแล้วจึงได้เพิ่ม “บัวคว่ำบัวหงาย” ขึ้นอีก “๒ คู่” เป็น “๙ คู่” และถวายพระนามพระกริ่ง ว่า “พระกริ่งนวปทุม ภ.ป.ร.” ซึ่งสอดคล้องกับนามของ “วัดปทุมวนาราม” จึงนับเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง..... และจากที่ล้นเกล้าฯ “พระบาทสม เด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานการสถาปนา “วัดปทุมวนารามฯ” ทางคณะกรรมการฯจึงมีมติให้จำลอง “พระไพรีพินาศ” ที่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๔ ทรงนับถือนี้ในรูปแบบ “พระกริ่ง” และขอพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร.” ประดิษฐานไว้ที่ฐานด้านหน้าเป็นนิมิตมงคลอันสูงสุดและนับเป็น “ครั้งแรก” ในประวัติการสร้าง “พระเครื่อง” ในรูปแบบของ “พระไพรีพินาศ” ที่ล้นเกล้าฯ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร.” ในการประดิษฐาน ณ ฐานด้านหน้าองค์ “พระกริ่ง” โดยบันทึกของวัดปทุมวนารามฯระบุว่าเป็น “พระกริ่งไพรีพินาศ ภปร.รุ่นแรกของประเทศไทย” พระกริ่งนวปทุม มีการจัดสร้าง“๓ เนื้อ” คือ 1.เนื้อทองคำ น้ำหนัก 2 บาท สร้างตามจำนวนสั่งจอง2.เนื้อเงิน สร้างจำนวน ๓,๐๐๐ องค์3.เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน ๓,๐๐๐ องค์....วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็นเวลาก่อนที่ล้นเกล้าฯ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จ พระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองในเวลา ๑๗.๐๐ น. จำแนกเป็นทองคำบริสุทธิ์ ๑๐๐% คิดเป็นน้ำหนัก ๑๒๕.๒ บาท ทองคำชนิดบริสุทธิ์ ๙๐% คิดป็นน้ำหนัก ๒๙.๔ บาท และทองเค (๑๘ k) คิดเป็นน้ำหนัก ๒๖.๖ บาท จึงนับว่า “หลวงพ่อพระเสริมภ.ป.ร.” มีส่วนผสมที่เป็น “ทองคำ” ซึ่งมีความบริสุทธิ์เป็นเปอร์เซ็นต์สูง มาก นอกจากนี้ยังมีผู้มีจิตศรัทธานำ “เงินบริสุทธิ์, ทองแดง, ทองเหลือง, ขันลงหิน” อีกเป็นจำนวนมากมาร่วมหล่อเป็นองค์ “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ที่แสดงให้เห็นถึงการ “ไม่แบ่งแยกชนชั้น” ไม่ว่าจะยากดีมีจนทุกคนมีสิทธิได้ร่วม “โดยเสด็จพระราชกุศล” สร้างพระพุทธปฏิมา “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” เป็นพระประธานประจำ “ศาลาพระราชศรัทธา” ทางด้านการจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกท่านเจ้าพระคุณ “สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก” เสด็จเป็น องค์ประธานในพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ภายหลังจากช่าง ได้ทำการตกแต่งเสร็จแล้วนับตั้งแต่ล้นเกล้าฯ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราช ดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ในครั้งนี้คณะกรรมการได้จัดให้มีการประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก“หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” พระพุทธปฏิมาเป็นพระประธานประจำศาลาพระราชศรัทธาแล้วยังประกอบด้วย “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ขนาดบูชา ๙ นิ้ว ๕ ฟุต “พระกริ่งนวปทุม ภปร., พระชัยวัฒน์นวปทุม ภปร., พระกริ่งไพรีพินาศ ภปร., พระผงหลวงพ่อพระเสริม ภปร.” และพิธีชัยมังคลาภิเษกเหรียญพระรูปเหมือน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ภปร.” ในวันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ มณฑลพิธีศาลาพระ ราชศรัทธาวัดปทุมวนาราม เวลา ๑๖.๓๐ น. และ ในเวลา ๑๗.๐๙ น. “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ” เสด็จไปยังตู้เทียนชัย ทรงเจิมเทียนชัย ทรงจุดเทียนชัย จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงเจิมเทียนพระพุทธมหามงคล ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่พระเครื่องในราชวัตรฉัตรธง บัณฑิตอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ตามรายนามดังต่อไปนี้ ๑.สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์(สุวรรณ สุวัณณโชโต)วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ๓.พระญาณวโรดม (สันตังกุโร) วัดเทพศิรินทราวาส ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระญาณวโรดม” ๔.พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาส ญาณวโร) วัดยานนาวา ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระพรหมโมลี” ๕.พระธรรมธัชมุนี (ประจวบ กันตจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม ภายหลัง ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็น “พระธรรมปัญญาจารย์” และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุทธชินวงศ์” ๖.พระธรรมบัณฑิต วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ๗.พระเทพมุนี วัดบพิตรพิมุข ๘.พระเทพปัญญาเมธี วัดไตรมิตรวิทยาราม ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระพรหมเวที” ๙.พระกิตติสารกวี วัดปทุมวนาราม ๑๐.พระญาณเวที วัดปทุมวนาราม จากนั้น “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ” ทรงประทับพิงอธิษฐานจิตเจริญภาวนาและเสด็จกลับในเวลา ๑๘.๐๙ น. บัณฑิตและคณะนิมนต์ “พระเกจิอาจารย์” พร้อม “พระภาวนาจารย์” ผู้ทรง วิทยาคุณจำนวน “๑๔๒ รูป” ผู้เขียนจึงคัดเอาเฉพาะรายนามพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในขณะนั้นมานำเสนอดังนี้ 1.พระเทพเมธี (บุญนาค) วัดเศวตฉัตร กทม.2.หลวงปู่ วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล3.หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส กทม.4.พระอาจารย์มหาถาวรจิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม 5.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี6.หลวงปู่บุดดาถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี7.พระครูธรรมจักรชโยดม (หลวงปู่ผล) วัดดักดะนน จ.ชัยนาท8.พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (หลวงพ่อเชิญ) วัดอ่านเพิ่มเติม
  • สภาพสินค้ามือหนึ่ง
  • ลงขายเมื่อ25 ต.ค. 2566 15:25 น.
  • ตำแหน่งประกาศเมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ
  • หมายเลขประกาศ368645796
แจ้งประกาศไม่เหมาะสม
กรุณาอย่าโอนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ
หากต้องการโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า
ตรวจสอบบัญชีคนโกง ที่นี่

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ'

ดูเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัดเลขที่ 191/22-25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 1011002-119-5000[email protected]
Link to FacebookLink to TwitterLink to InstagramLink to Youtube

เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

Link to AppStoreLink to Google Play StoreLink to Huawei store
© 2566 บริษัท จูอาโล่ มาร์เก็ตเพลส จำกัด