เปลี่ยนบ้านร้อนให้เย็นด้วย ฉนวนกันความร้อนหลังคา

เปลี่ยนบ้านร้อนให้เย็นด้วย ฉนวนกันความร้อนหลังคา

สรุปบทความ

คู่มือกันความร้อนอย่าง ฉนวนกันความร้อนหลังคา คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? ติดตั้งที่ไหน ? และ เลือกอย่างไร ? เรารวบรวมคำตอบไว้ในบทความนี้

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอากาศที่ร้อนระอุ ทำให้การก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ให้เย็นสบายจึงนับเป็นเรื่องที่ยาก แต่ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างชาญฉลาดทำให้เกิดวัสดุที่เป็นตัวช่วยในการลดความร้อนของบ้านได้ นั่นก็คือ ฉนวนกันความร้อนหลังคา ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคานั้นจะต้องมีการเลือกประเภทของฉนวนกันความร้อนหลังคาที่เหมาะสมกับบ้านลักษณะต่าง ๆ เพื่อประสิทธิภาพในการกันความร้อนหลังคาที่ดีที่สุด

ฉนวนกันความร้อนหลังคา คืออะไร ?

ฉนวนกันความร้อนหลังคา เป็นวัสดุป้องกันความร้อนจากภายนอกอาคารไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคาร รวมถึงยังสามารถช่วยสะท้อนความร้อนออกไปได้เช่นกัน ซึ่งส่วนมากแล้วฉนวนกันความร้อนหลังคานนั้นจะประกอบไปด้วยฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมาก โดยฉนวนกันความร้อนหลังคาแต่ละชนิดก็มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน สังเกตจากค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนที่ยิ่งน้อย แสดงว่ามีประสิทธิภาพมากนั่นเอง

ประเภทของ ฉนวนกันความร้อนหลังคา

ฉนวนกันความร้อนหลังคาสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักได้ 2 ประเภทตามวิธีการใช้ ได้แก่

ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น

วางจำหน่ายในลักษณะเป็นม้วน มีความอ่อนตัว สามารถติดตั้งได้ง่ายด้วยการปูใต้โครงผนังเบา บนฝ้าเพดาน หรือบนเป ซึ่งฉนวนกันความร้อนหลังคาสามารถแบ่งได้ตามวัสดุต่าง ๆ จนทำให้เกิดความหนา ค่ากันความร้อน ความยาวต่อม้วน และราคาที่แตกต่างกัน

ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น

เป็นฉนวนกันความร้อนที่ใช้งานด้วยการพ่นลงพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่น ฝ้าเพดาน หรือผนังห้อง เพื่อกันความร้อนโดยผู้ที่จะทำการพ่นได้นั้นจะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เหมาะกับพื้นที่ที่ยากต่อการปูแผ่นฉนวนกันความร้อนหลังคา

ซึ่งฉนวนกันความร้อนหลังคาทั้งสองแบบที่กล่าวไปข้างต้นนั้นยังสามารถแบ่งประเภทของฉนวนกันความร้อนได้เป็นประเภทย่อย ๆ ได้หลากหลายชนิดตามรูปร่างลักษณะและวัสดุการผลิต ดังนี้

อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) แผ่นฉนวนกันความร้อนหลังคาที่มีลักษณะเป็นฟอยล์ 2 หน้าคล้ายกับฟอยล์ห่ออาหารแต่มีลักษณะที่หนาขึ้นเพื่อกันความร้อน โดยแผ่นฉนวนกันความร้อนชนิดนี้ไม่ได้มีความสามารถในการกันความร้อน ทำได้เพียงสะท้อนความร้อนออกไป จึงต้องใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อนหลังคาชนิดอื่น ๆ แต่มีคุณสมบัติที่เหนียว คงทน และหาซื้อได้ง่าย

โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam) หรือที่เรียกว่า PE มีให้เลือกมากมายหลากหลายขนาด เช่น 3 4 5 หรือ 10 มิลลิเมตร มีคุณสมบัติหลักในการป้องกันความร้อนและสะท้อนความร้อนได้ในตัว ได้รับความนิยมเพราะมีราคาที่ต่ำ เป็นแผ่นเบา เหนียวนุ่ม ทนต่อแรงกระแทก และหนา

โพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam) หรือ PU มีชื่อเรียกในภาษาไทย คือ โฟมเหลือง เป็นฉนวนกันความร้อนหลังคาที่มักถูกใช้ในโรงงาน มีคุณสมบัติในการกันน้ำ ความชื้น และเสียงได้ดี แต่เสื่อมสภาพได้เร็วถ้าได้รับอุณหภูมิที่สูงเกินหรือติดไฟง่าย ฉนวนกันความร้อนหลังคาประเภทนี้มีลักษณะทั้งเป็นแผ่นและสเปรย์

โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) หรือในชื่อภาษาไทยว่า โฟมขาว มีตัวย่อคือ PS และ EPS เป็นวัสดุกันความร้อนหลังคาที่มีขนาดเบา เคลื่อนย้าย และติดตั้งง่าย มีจุดเด่นในการดันความร้อนและความเย็น ทำให้กลายเป็นฉนวนกันความร้อนหลังคาอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน 

แอร์บับเบิ้ล (Air Bubble เรียกอีกอย่างว่า Bubble Foil) มีลักษณะคล้ายกับแผ่นกันกระแทก แต่ผลิตจากแผ่นอะลูมิเนียม โดยด้านนอกทำหน้าที่ในการสะท้อนความร้อน และด้านในทำหน้าที่ในการกันความร้อนนั่นเอง

ใยแก้ว (Fiberglass) เป็นฉนวนกันความร้อนหลังคาที่ด้านในมีใยแก้วที่ถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นอะลูมิเนียมมีข้อดีคือสามารถกันได้ทั้งความร้อนและเสียง ติดตั้งง่าย และทนความร้อนได้สูง แต่ก็มีความหนาที่มากกว่าฉนวนกันความร้อนหลังคาแบบอื่น ๆ ทำให้พับเก็บได้ยาก

เซรามิกสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating) ถูกผลิตจากการนำอนุภาคของเซรามิก อะคริลิก และวัสดุอื่น ๆ มาผสมกัน ฉนวนกันความร้อนหลังคาชนิดนี้มีลักษณะเป็นของเหลวที่มักจะถูกพ่นลงบนหลังคาและดาดฟ้าต่าง ๆ และนอกจากจะกันความร้อนแล้วเซรามิกสะท้อนความร้อนยังสามารถป้องกันน้ำรั่วซึมอีกด้วย

เยื่อกระดาษ (Cellulose) ฉนวนกันความร้อนหลังคาที่มีให้เลือกทั้งแบบแผ่นและแบบพ่น มีคุณสมบัติในการกันความร้อน กันเสียง ติดไฟยาก และน้ำหนักเบา จุดเด่นของฉนวนกันความร้อนหลังคาชนิดนี้อยู่ที่การไม่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่าง ๆ นั่นเอง

ฉนวนกันความร้อนหลังคา ติดตั้งที่ไหนได้บ้าง?

จากชื่อของเทคโนโลยีนี้ หลายคนคงคิดว่าฉนวนกันความร้อนหลังคาสามารถติดตั้งได้เพียงแค่บนหลังคาเท่านั้นแต่หารู้ไม่ว่า ฉนวนกันความร้อนหลังคานั้นสามารถติดตั้งในที่ต่าง ๆ นอกเหนือจากหลังคาได้ ไม่ว่าจะเป็น บนฝ้า ใต้หลังคา หรือบนหลังคา โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

ติดตั้งบนฝ้า

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคานบนฝ้าเพดานนั้นสามารถใช้ฉนวนกันความร้อนหลากหลายวัสดุ เช่น แอร์บับเบิ้ล พอลิเอทิลีนโฟม หรืออื่น ๆ แต่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคาบริเวณนี้มีข้อเสียคืออาจทำให้เกิดความร้อนใต้หลังคามากเกินไป จึงต้องมีการเจาะช่องระบายความร้อนเพิ่มเติม

ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา

สำหรับฉนวนกันความร้อนหลังคาใยแก้ว อะลูมิเนียมฟอยล์ ฉนวนกันความร้อนหลังคาแบบพ่น หรือแบบอื่น ๆ นั้น นิยมติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด โดยการติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคาบริเวณนี้จำเป็นต้องติดตั้งไปพร้อม ๆ กับการสร้างหลังคา ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในประเทศไทย

ติดตั้งบนหลังคา

ฉนวนกันความร้อนหลังคาชนิดสีสะท้อนความร้อน เป็นฉนวนกันความร้อนหลังคาที่มักจะถูกติดบนหลังคา โดยติดตั้งคู่กับฉนวนกันความร้อนหลังคาชนิดอื่น ๆ เพราะที่มีเนื้อที่บางและไม่สามารถกันความร้อนได้ดีมากนัก

วิธีเลือก ฉนวนกันความร้อนหลังคา

เนื่องจากฉนวนกันความร้อนหลังคาสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนหลังคาแต่ละประเภทได้ จึงต้องมีการศึกษาและคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ก่อน ดังนี้

ค่ากันความร้อน

สิ่งแรกในการพิจารณาคือค่ากันความร้อนของฉนวนกันความร้อนหลังคาแต่ละชนิดว่า มีความแตกต่างอย่างไร โดยฉนวนกันความร้อนหลังคาที่ดีควรมี ค่า R หรือค่าต้านความร้อนที่สูง และมีค่า K หรือ ค่านำความร้อนที่ต่ำ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากสลากที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์

ชนิดของฉนวนกับตำแหน่งที่ติดตั้ง

ด้วยสาเหตุที่ว่า ตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องการติดตั้ง มีความสัมพันธ์กับชนิดของฉนวนกันความร้อนหลังคา ดังนั้นการคำนวณตำแหน่งการติดตั้งต่าง ๆ ควรคำนึงถึงชนิดที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ เช่น ฉนวนใยแก้วบนหลังคาที่ได้รับแดดเยอะ หรือฉนวนกันความร้อนหลังคาที่มีน้ำหนักเบาบนหลังคาโรงจอดรถ เป็นต้น

ราคา

ราคาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ติดตั้งต้องมีการคำนวณก่อนตัดสินใจซื้อ โดยการเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพของวัสดุและราคาของฉนวนกันความร้อนหลังคาว่าคุ้มค่าต่อการติดตั้งหรือไม่

สรุปท้ายบทความ

เห็นได้ว่าถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีอากาศที่ร้อนระอุเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันก็มีการติดตั้งเทคโนโลยีอย่างฉนวนกันความร้อนหลังคาเพื่อลดความร้อนภายในบ้าน และหลังจากที่ได้รู้จักฉนวนกันความร้อนหลังคาแต่ละประเภทแล้ว หวังว่าผู้อ่านจะมีการตัดสินใจเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนหลังคาและบ้านที่เหมาะสมได้มากยิ่งขึ้น ใน Kaidee Property

อ่านบทความ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอสังหาฯ อื่น ๆ

สอบถามข้อมูลอื่นๆ หรือสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

กรุณาสแกนคิวอาร์โค้ด หรือเพิ่มเพื่อนด้วยไอดีไลน์ @kaideeofficial