ครอบครัวยุคใหม่ วางแผนซื้อรถอย่างไรดี ?

ครอบครัวยุคใหม่ วางแผนซื้อรถอย่างไรดี ?

รวมวิธีวางแผนซื้อรถ เหมาะสำหรับทุกครอบครัว คำนวณง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก รู้สถานะการเงิน และโอกาสได้รับสินเชื่อจากไฟแนนซ์

การวางแผนครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญในยุคสังคมที่มีการแข่งขันสูง พื้นฐานทางครอบครัวที่ดีเกิดจากวิธีจัดการที่ดีในทุกเรื่อง โดยเฉพาะถ้าคุณอยากจะมีพาหนะคู่ใจสักคันไว้ใช้ในครอบครัว จะมีวิธีการ “วางแผนซื้อรถ” อย่างไร ? ในเมื่อค่าใช้จ่ายประจำก็มีอยู่แล้ว Kaidee Auto มีคำตอบพร้อมสูตรคำนวณที่ง่าย และเป็นไปได้มาฝากทุกคน

วางแผนซื้อรถ เป็นโจทย์ข้อใหญ่สำหรับครอบครัวที่มีภาระ แต่ทุกเรื่องมีทางออก ถ้าครอบครัวมีวินัยทางการเงินดี ก็สามารถเป็นเจ้าของรถได้ไม่ยาก แม้รายจ่ายจะเต็มเพดานอยู่ก็ตาม

เรามาดูวิธีการ “วางแผนซื้อรถ” ให้เหมาะกับครอบครัว (ขยาย) แบบ step – by – step ถ้าคุณทำได้ ก็มีโอกาสเป็นเจ้าของรถได้ไม่ยาก และไม่เป็นหนี้จนเกินความสามารถในการชำระ

1.   วางแผนซื้อรถ ด้วยกระปุกหลายใบ

เรื่องง่าย แต่หลายคนพลาด เพราะคาดไม่ถึง ! ก็คือ กำหนดเป้าหมายในการซื้อรถ วางเป้าหมายให้ชัด ตอบตัวเองให้ได้ว่า เราซื้อรถมาเพื่ออะไร ? ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเดินทาง ความสะดวกสบาย หรือ แม้กระทั่งเพื่อทำธุรกิจ แล้วพิจารณาถึงความคุ้มค่า ทำไมถึงต้องเป็นหนี้เพื่อมีรถ

มีรถดีกว่ายังไง ? / ประหยัดหรือไม่ ? / สะดวกยังไง ? /  เหมาะกับการเดินทางรึเปล่า ?

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

สมชายมีสมาชิกในครอบครัว 4 คน พักอาศัยอยู่ย่านลาดพร้าว ต้องไปส่งลูกเรียนย่านบางกะปิ แล้วไปทำงานต่อกับแฟนที่รัชดา ปัจจุบันเสียค่าเดินทางด้วยรถแท็กซี่ ไป – กลับ (รวมส่งลูกและไปทำงาน) ตกวันละ 500 – 600 บาท รวม 5 วัน ใช้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เกือบ 3,000 บาท

ในเคสนี้ ถ้าสมชายลงทุนซื้อ “อีโคคาร์” ในราคา 300,000 บาท เติมน้ำมันเต็มถังทุกต้นสัปดาห์ สูงสุดประมาณ 1,500 บาท/ถัง* สมชายจะประหยัดค่าเดินทางลงถึงครึ่งหนึ่ง และใน 1 ปี ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายได้ถึง 78,000 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุนในการซื้อรถอยู่ที่ 4 ปี

สรุปให้เข้าใจง่าย เคสของสมชาย ซื้อรถส่วนตัว ประหยัดกว่า นั่งรถแท็กซี่ ครอบครัวสะดวกสบาย ไม่ต้องนั่งรถหลายต่อ สามารถไปด้วยกันได้ทั้งครอบครัว

2.   วางแผนซื้อรถ ด้วยกระปุกหลายใบ

เมื่อกำหนดเป้าหมายชัดเจน และคิดว่าการมีรถ… เนี่ยแหละตอบโจทย์ ก็มาถึงขั้นตอนในการเริ่ม “วางแผนซื้อรถ” สำหรับสามีและภรรยา นับเป็นบุคคลเดียวกัน ควรนำรายได้มารวมกัน เพื่อใช้วางแผนทางการเงินให้กับครอบครัว ด้วยวิธีการแบ่งกระปุกออกเป็น 4 ใบ เริ่มจาก

●      กระปุกรายได้

นำรายได้ทั้งหมด จากพ่อและแม่ ทั้ง 2 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้หลัก นำมาคิดคำนวณรวมกันในแบบรายเดือน นับรวมทุกอย่างที่เป็น income เช่น เงินเดือน, ค่าจ้างแบบรับครั้งเดียว, ค่าทำงานล่วงเวลา, เงินปันผล, ส่วนแบ่งธุรกิจ, ค่าขายสินค้า, คอมมิชชัน หากรายได้บางอย่างไม่ใช่ผลตอบแทนที่ตายตัว (ไม่ได้รับเท่ากันทุกเดือน) ให้ใช้วิธีถัวเฉลี่ยออกมาเป็นขั้นต่ำ

●      กระปุกรายจ่าย

รวมทุกอย่างที่เป็นรายจ่ายในแต่ละเดือน และต้องนับรวมของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ค่าขนมลูก, คำประกัน, ค่าเทอมลูก รวมไปถึงค่าผ่อนรถโดยตัวเลขค่าใช้จ่ายต้องมีความละเอียด และนับรวมถึงภาระที่อาจตามมาในอนาคตด้วย

●      กระปุกเงินออม

ความสำเร็จของการซื้อรถ อยู่ที่การวางแผนกระปุกเงินออม กำหนดให้ชัดเจนว่า ในแต่ละเดือน เมื่อนำรายได้มาหักลบด้วยรายจ่าย จะมีเงินออมกี่บาท และแบ่ง “ใส่กระปุกออกรถ” ได้หรือไม่ ? ไม่ว่าจะมากหรือน้อย กระปุกใบนี้ก็ต้องมีเงินมาหยอดทุกเดือน ลดความเสี่ยงในอนาคต

●      กระปุกออกรถ

กระปุกออกรถ คือ เงินของครอบครัวที่แบ่งมาจากกระปุกเงินออม นั่นเอง ส่วนจะมากหรือน้อยกว่าเงินออม สามารถออกแบบเองได้ (ควรเหมาะสมกับเงินออม) เพราะสุดท้ายเงินในกระปุกนี้ จะถูกใช้เป็น “ค่าใช้จ่ายในการออกรถวันแรก”

สูตรกระปุก 4 ใบ

กระปุกรายได้ – กระปุกรายจ่าย = กระปุกเงินออม : กระปุกออกรถ

ตัวอย่าง

กระปุกรายได้ 80,000 บาท/เดือน

  • คุณพ่อ 40,000 บาท
  • คุณแม่ 30,000 บาท
  • ขายของออนไลน์ 10,000 บาท

กระปุกรายจ่าย 56,000 บาท/เดือน

  • ค่าใช้จ่ายคุณพ่อ 18,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายคุณแม่ 15,000 บาท
  • ค่าขนมลูก 3,000 บาท
  • ค่าเทอมลูก 2,500 บาท (10,000 บาท และใน 1 เทอมมี 4 เดือน)
  • ค่าประกันชีวิต 3,000 บาท
  • ค่าไฟ 2,000 บาท
  • ค่าน้ำ 500 บาท
  • เบ็ดเตล็ด 12,000 บาท

*** Balance Check : 80,000 – 56,000 = 24,000 บาท ***

 กระปุกเงินออม : กระปุกออกรถ (ต่อเดือน)

  • 12,000 : 12,000 (50:50)
  • 14,400 : 9,600 (60:40)
  • 16,800 : 7,200 (70:30)

สรุป : กระปุกออกรถ จะถูกใช้เก็บสะสมทุกเดือน เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการออกรถวันแรก

3.  เลือกรถคันที่เหมาะสม

ย้ำอีกครั้งว่า รถคันที่เหมาะสม… อาจไม่ใช่รถในฝันเสมอไป การวางแผนซื้อรถ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ต่อสภาพคล่องทางการเงินเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ในตลาดยังมีรถอยู่หลายประเภท รถมือหนึ่ง, รถมือสอง ราคาแตกต่างกัน รวมไปถึง Segment และยี่ห้อของรถอีกด้วย

●      A Segment

รถเก๋งขนาดเล็กมาก เครื่องยนต์ไม่เกิน 1,000 ซีซี. ราคา 100,000 – 400,000 บาท* ผ่อนเริ่มต้น 4,500 บาท/เดือน* ดูรถ A-Segment คลิก!

●      B-Segment

รถเก๋งขนาดเล็ก เครื่องยนต์ไม่เกิน 1,200 ซีซี. ราคา 400,000 – 800,000 บาท* ผ่อนเริ่มต้น 7,500 บาท/เดือน* ดูรถ B-Segment คลิก!

●      C-Segment

รถเก๋งขนาดกลาง เครื่องยนต์ 1,500 – 1,800 ซีซี. ราคาขาย 800,000 – 1,200,000 บาท* ผ่อนเริ่มต้น 12,000 บาท/เดือน* ดูรถ C-Segment คลิก!

●      D-Segment

รถเก๋งขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เริ่มต้น 1,500 ซีซี. ราคา 1,200,000 บาทขึ้นไป* ผ่อนเริ่มต้น 15,500 บาท/เดือน* ดูรถ D-Segment คลิก!

●      Pickup

รถกระบะ เครื่องยนต์ยนต์ 1,900 ซีซี. ขึ้นไป ราคาขาย 550,000 บาทขึ้นไป* ผ่อนเริ่มต้น 8,500 บาท/เดือน* ดูรถกระบะ Pickup คลิก!

●      PPV Segment

รถอเนกประสงค์ เครื่องยนต์ไม่ 2,400 ซีซี. ราคาขาย 1,300,000 บาทขึ้นไป* ผ่อนเริ่มต้น 15,500 บาท/เดือน* ดูรถ PPV คลิก!

●      SUV Segment

รถอเนกประสงค์ สมรรถนะสูง เครื่องยนต์ไม่ 2,400 ซีซี. ราคาขาย 1,500,000 บาทขึ้นไป* ผ่อนเริ่มต้น 17,500 บาท/เดือน* ดูรถ SUV คลิก!

4.   วิธีคำนวนค่าใช้จ่ายในการออกรถ

ในส่วนของวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายในการ “วางแผนซื้อรถ” จะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกขั้น ส่วนใหญ่เซลส์ หรือ ที่ปรึกษาฝ่ายขาย จะเป็นผู้คิดคำนวณให้ทั้งหมด แต่เราก็ควรต้องรู้หลักการด้วยเช่นกัน รายละเอียดแยกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายและสัญญา และ วิธีคำนวณ

4.1 ค่าใช้จ่ายและสัญญา

●       ค่ารถ

ราคารถยนต์ นับเป็นจำนวนเงินสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทรถ หรือ เจ้าของรถ

●       เงินดาวน์

เงินดาวน์ คือ เงินสดที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างยอดจัดไฟแนนซ์กับราคารถ เงินในส่วนนี้เป็นของผู้ซื้อ จึงไม่ถูกคิดดอกเบี้ย ยิ่งวางดาวน์เยอะ ยอดจัดไฟแนนซ์และดอกเบี้ยยิ่งลดลง เงินดาวน์คิดเป็นอัตราส่วนต่อราคารถยนต์ เช่น 10%, 15, 20%, 25%, 30% ฯลฯ

●       ยอดจัด

ยอดจัด คือ ค่าใช้จ่ายที่ไฟแนนซ์เป็นผู้ออกให้ โดยทำสัญญาให้คุณผ่อนชำระ โดยคิดดอกเบี้ยในการให้บริการ

●       จำนวนงวด

จำนวงวด หรือ ระยะเวลาผ่อนชำระ เป็นจำนวนที่ใช้คิดเป็นระยะเวลา ซึ่งคุณต้องผ่อนเงินต้นรวมกับดอกเบี้ย คืนให้กับไฟแนนซ์ โดย 1 ปี เท่ากับ 12 งวด ยิ่งผ่อนนาน ยิ่งเสียดอกเบี้ยเยอะ

●       ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินกู้ ซึ่งไฟแนนซ์คิดดอกเบี้ยทุกเดือนจากเงินต้น สำหรับดอกเบี้ยของรถยนต์ เป็นการคิดในอัตราคงที่ หรือ Flat Rate ตลอดสัญญา

4.2 วิธีคำนวณ

●       วิธีคำนวณดอกเบี้ยรถยนต์

สำหรับการคำนวณหา “ดอกเบี้ยรถยนต์” ใช้สมการดังนี้  “ยอดจัด x ดอกเบี้ย x จำนวนปีที่ผ่อน” เช่น ยอดจัดไฟแนนซ์ 500,000 บาท, มีดอกเบี้ย 4.25% และผ่อน 5 ปี (ุ60 เดือน/งวด) จึงเท่ากับ 500,000 x 4.25% x 5 ดอกเบี้ย คือ 106,250 บาท

●       วิธีคำนวนเงินก้อนที่ต้องผ่อน

สูตรหาเงินก้อนที่ต้องผ่อน คือ ยอดจัดไฟแนนซ์ + ดอกเบี้ย จากตัวอย่างด้านบน แทนที่ด้วยสมการ คือ 500,000 + 106,250 รวมเงินก้อนที่ต้องผ่อน คือ 606,250 บาท

●       วิธีหาเงินผ่อนต่อเดือน

สูตรหาเงินผ่อนต่อเดือน คือ นำเงินก้อน ÷ จำนวนเดือนที่ผ่อน ต่อเนื่องจากตัวอย่าง แทนที่ตามสมการ 606,250 ÷ 60 (5 ปี) จำนวนเงินที่ต้องผ่อน 10,104 บาท/เดือน

●       ยอดเงินผ่อน มีภาษีอีก 7%

นอกจากนี้ ยอดผ่อนภาษีมูลค่าเพิ่มบวกเข้ามาอีก 7% ดังนั้น ยอดค่าใช้จ่ายในการผ่อนจริงจะเพิ่มขึ้น 10,104 + 707.28 (10,104 x 7  ÷ 100) ยอดผ่อนที่แท้จริงรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 10,811.28 บาท/เดือน

5.   รู้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาของไฟแนนซ์

รู้เขา รู้เรา ช่วยให้คุณวางแผนซื้อรถได้ง่ายขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ไฟแนนซ์ใช้พิจารณาให้สินเชื่อรถยนต์ และคุณต้องเตรียมตัว คือ ไม่ติดแบล็กลิสต์, เครดิตบูโรอยู่ในสถานะปกติ, มีรายได้แน่นอน และชัดเจน, บัญชีมีสภาพคล่อง, เพดานหนี้ต่ำ, ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นสูง (Affordability Ratio), มีเงินดาวน์ก้อนแรก

สำหรับการการติดแบล็กลิสต์ หรือ ข้อมูลเครดิตบูโรไม่ปกติ ชำระช้า ไม่ชำระหนี้ ในส่วนนี้ไม่สามารถออกรถได้ เพราะธนาคารประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง

แต่ข้อสังเกตในปัจจุบัน อยู่ที่ “เพดานและความสามารถในการชำระหนี้” หลายธนาคารคำนวณในเรื่องนี้ แต่บางธนาคาร… ก็ไม่นำมาคิด ! เพราะดูที่พฤติกรรมและวินัยทางการเงินเป็นหลัก

ตัวอย่าง

นาย ก. มีเพดานหนี้สูงถึง 5 ล้าน แต่มีรายได้ที่แน่นอน และไม่เคยผิดนัดชำระหนี้เลยสักครั้งเดียว ในกรณีธนาคารก็อาจพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้ นาย ก. ก็เป็นได้ 

6.   เปิดเคล็ดลับ ผ่อนอย่างไร เอาตัวให้รอด

ผ่อนอย่างไรให้รอด เรื่องนี้อยู่ที่ การวางแผนซื้อรถ และ วินัยทางการเงิน สำหรับการเป็นหนี้ และซื้อสินค้าด้วยวิธีการผ่อน ไม่ใช่เรื่องแปลก ในทางตรงกันข้ามยังเป็นการแสดงตัวตน และความสามารถให้สถาบันการเงินรู้จักตัวตนของเราอีกด้วย

สำหรับเคล็ดลับการผ่อนรถ ก็คือ ผ่อนให้ตรง ปิดให้ไว และมีเงินสำรองค่างวดอย่างน้อย 3 – 6 เดือน เพียงเท่านี้ คุณก็เป็นลูกค้าชั้นดีของธนาคารแล้ว

และในส่วนของการนำเงินก้อนไปปิดสินเชื่อรถ – โปะรถ เป็นเรื่องดี สามารถทำได้ ช่วยปลดภาระทางการเงิน แต่ไม่ได้ทำให้คุณเสียดอกเบี้ยน้อยลง เพราะดอกเบี้ยรถยนต์เป็นแบบคงที่ตลอดสัญญา โปะรถแล้วไม่กระทบกับรายจ่ายปัจจุบัน มีเงินเพิ่มขึ้นด้วย

“การโปะรถ” ทำให้ข้อมูลเพดานหนี้ที่ “บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ – เครดิตูโร” ลดลงตามไปด้วย ความสามารถในการชำระหนี้สูงขึ้น ปิดรถแล้ววางแผนทางการเงินเรื่องอื่น ๆ ต่อไปได้ แตกต่างจากสินเชื่อบ้าน นับเป็นหนี้ก้อนใหญ่ สามารถลดต้นและลดดอกได้ แต่ในทางกลับกัน การเป็นหนี้บ้านก้อนใหญ่ จะวางแผนทางการเงินก็ยาก กู้สินเชื่อโอกาสผ่านมีน้อย

กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท สินเชื่อยุคใหม่ ตอบโจทย์ด้วยเครื่องมือทันสมัย และเข้าใจถึงความต้องการ ด้วย 4 ฟีเจอร์เด็ด คัดมาแล้วว่าดีต่อคุณ

  • รู้วงเงินก่อนตัดสินใจออกรถ เช็กข้อมูลฟรี รู้ผลวงเงินประเมินผ่าน SMS ใน 3 นาที !
  • มีที่ปรึกษาส่วนตัว คอยให้คำแนะนำ สะดวกสบาย
  • มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
  • พร้อมรับข้อเสนอพิเศษ เอกสิทธิ์เฉพาะคุณ

สินเชื่อ “กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท” สามารถให้วงเงินสินเชื่อกับ รถยนต์ใหม่ป้ายแดง, รถยนต์มือสอง, มอเตอร์ไซค์ และบิ๊กไบค์ สะดวกและง่ายกว่า ไม่ยุ่งยาก ลองประเมินวงเงินกันได้เลย !
 

ประเมินวงเงินฟรี รีบคลิกเลย !

สอบถามข้อมูลอื่นๆ หรือสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

กรุณาสแกนคิวอาร์โค้ด หรือเพิ่มเพื่อนด้วยไอดีไลน์ @kaideeofficial